ผลกระทบของการบริหารต้นทุนคุณภาพที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การบริหารต้นทุนคุณภาพ, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลกระทบของการบริหารต้นทุนคุณภาพมีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรมข้อมูล จากผู้บริหารธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยจำนวน 173 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า การบริหารต้นทุนคุณภาพด้านต้นทุนป้องกัน ด้านต้นทุนการประเมินและด้านต้นทุนความผิดพลาด มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยรวมดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ในการกำหนดนโยบาย การวางแผน การควบคุมและการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อให้การบริหารต้นทุนคุณภาพมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้เป็นอย่างดีซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำธุรกิจไปสู่ความเจริญเติบโต มั่นคงและยั่งยืนตลอดไป
References
กัลยา วรรณสวัสดิ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนคุณภาพกับผลการดำเนินงานขององค์กร. วารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา, 5 (1), 36–62.
ฐิฏิกานต์ สุริยะสาร. (2560). ผลกระทบของการบริหารต้นทุนคุณภาพที่มีต่อการพัฒนาการบริการและ ความพึงพอใจของลูกค้าของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(1),138–151
ตรีทศ เหล่าศิริหงษ์ทอง. (2552). กลยุทธ์การผลิต/ปฏิบัติการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนัตถ์ภัทร ถิรธนัชดิลก. (2558). การจัดการคุณภาพโดยรวม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์.
ปพฤกษ์บารมี อุตสาหะวาณิชกิจ. (2560). การบัญชีต้นทุนคุณภาพและผลการดำเนินงานทางการตลาด : หลักฐานเชิงประจักษ์ จากธุรกิจที่ได้รับ ISO9000 ในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 12(1), 145–157.
ปรียาวดี ผลเอนก. (2560). การศึกษาการรับรู้ต้นทุนคุณภาพที่มีอิทธิพลต่อขีดสมถรรนะของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นในการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว. ศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 33–42
วรรณี เตโชโยธิน. (2558). การบริหารต้นทุน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. (2560b). รายชื่อผู้ประกอบการ. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2560 , จาก https://www.thaieei.com/EIU/TableauPage.aspx?MenuID=18
เสกสรร สุธรรมานนท์ ,รัญชนา สินธวาลัย และสนธยา ทวีรัตน. (2556). การประยุกต์ใช้ต้นทุนคุณภาพสำหรับโรงงานผลิตประเก็นสำเร็จรูป. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 18 (3), 527–535.
วิทยา อินทร์สอน และชูชาติ พยอม. (2557). แนวทางการพัฒนาใช้ต้นทุนคุณภาพในงานอุตสาหกรรม. Industrial Technology Review, 19 (258), 106–111.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Aaker, D.A., Kumar,V. & Day, G. S. (2001). Marketing Research (7th ed.). New York : John Wiley and Sons.
Black, K. (2006). Business statistics : for contemporary decision making. (4th ed.), Business Statistics for Contemporary Decision Making. New York : John Wiley and Son.
Blocher, J.E., Stout, E.D., Juras, E.P., & Cokins, G. (2016). Cost Management (7th ed.). New York : McGraw-Hill Education.
Farooq, M. A., Kirchain, R., Novoa, H., & Araujo, A. (2017). Cost of quality: Evaluating cost quality trade-offs for inspection strategies of manufacturing processes. International Journal of Production Economics, 188, 156 –166
Hair, J.F., Black, W.C., & Erson, R. E. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed.). New Jersey : pearson
Holotaa,T., Hrubeca, J., Kotusa,M., Holiencinovab, M., & Caposovac, E. (2016). The manafement of quality costa analysis model. Serbian Journal of Management, 11(1), 119–127.
Lari, A., & Asllani, A. (2013). Quality cost management support system : an effective tool for organizational performance improvement. Total Quality Management and Business Excellence, 24, 432–451
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว