ผลกระทบของความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศทางการบัญชี, ประสิทธิภาพการควบคุมภายใน, บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลกระทบของความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 156 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ตัวแปรอิสระในงานวิจัย คือ ความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศทางการบัญชี ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านนโยบายความปลอดภัยของสารสนเทศทางการบัญชี 2)ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง 3)ด้านการตระหนักรู้ของพนักงาน และ4)ด้านการควบคุมการเข้าถึงสารสนเทศทางการบัญชี ตัวแปรตามคือ ประสิทธิภาพการควบคุมภายใน ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านการดำเนินงาน 2)ด้านการรายงานทางการเงิน และ 3)ด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศทางการบัญชี จำนวน 4 ด้าน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการควบคุมภายในโดยรวม จำนวน 3 ด้าน คือ 1)ด้านนโยบายความปลอดภัยของสารสนเทศทางการบัญชี 2)ด้านการตระหนักรู้ของพนักงาน และ3)ด้านการควบคุมการเข้าถึงสารสนเทศทางการบัญชี ดังนั้น ผู้บริหารฝ่ายบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสามารถใช้ผลการวิจัยเป็นแนวทางในการปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจการต่อไป
References
ฐิติพร โชติรอด และวุฒิพงษ์ ชินศรี. (2560). ความตระหนักรู้ของพนักงานบริษัทประกันชีวิตต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศในองค์กร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2560. 28 เมษายน 2560.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2549). แนวทางการควบคุมภายในที่ดี. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2557). การกำกับดูแลการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านข้อมูลสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ธนะเมศฐ์ ธนโชติสุขวัฒน์. (2558). ผลกระทบของการควบคุมภายในด้านระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัชนีพร เศรษฐสักโก. (2560). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. กรุงเทพฯ : วี.เจ.พริ้นติ้ง
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (บรรณาธิการ). พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุพิชญา อาชวิรดา. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศในองค์กร. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ, 2(2).
อภิญญา รัตนาตรานุรักษ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรแสดงออกถึงพฤติกรรมในการปฏิบัติตามนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Barton, K. A. (2014). Information System Security Commitment: A Study of External Influences on Senior Management NSUWorks Citation. Nova Southeastern University.
Black, K. (2006). Business statistics : for contemporary decision making (4thed.). Business Statistics for Contemporary Decision Making. New York : John Wiley and Sons.
Hair, J.F., Black, W.C. & Alderson, R. E. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed.). New Jersey : pearson.
Keller, C. (2017). Implementation of information security policies in public organizations : Top management as a success factor. Information. IT Management and Innovation. Jonkoping University.
Ki-Aries, D., & Faily, S. (2017). Persona-centred information security awareness. Computers and Security, 70, 663-674.
Metalidou, E. et al. (2014). The Human Factor of Information Security: Unintentional Damage Perspective. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 147, 424-428.
Peggy, C. et al. (2012). Enterprise Information Systems Security : A Conceptual Framework. Lecture Notes in Business Information Processing. 105, 118-128.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว