ผลกระทบของประสิทธิผลการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุนที่มีต่อ ประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ในเขตภาคกลาง
คำสำคัญ:
การบัญชีต้นทุน, ประสิทธิภาพการดำเนินงาน, บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลกระทบของประสิทธิผลการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุนที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตภาคกลาง ซึ่งประสิทธิผลการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุนเป็นตัวแปรอิสระและเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้จัดการฝ่ายบัญชีบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตภาคกลาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ใช้วิธีส่งจดหมายทางไปรษณีย์ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเนื้อความสมบูรณ์ทั้งสิ้น 163 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิผลการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุน ด้านประสิทธิภาพการวางแผน ด้านส่งเสริมการควบคุม ด้านสนับสนุนการตัดสินใจ และด้านการวัดผลการดำเนินงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม ด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ 2) ประสิทธิผลการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุน ด้านส่งเสริมการควบคุม ด้านสนับสนุนการตัดสินใจ และด้านการวัดผลการดำเนินงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้านการจัดหาและใช้ปัจจัยทรัพยากร 3) ประสิทธิผลการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุน ด้านส่งเสริมการควบคุม และด้านการวัดผลการดำเนินงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้านกระบวนการปฏิบัติงานและ 4) ประสิทธิผลการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุน ด้านส่งเสริมการควบคุม และด้านสนับสนุนการตัดสินใจ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านความพอใจของทุกฝ่าย
References
กองสนเทศเศรษฐกิจ (2551). ข้อมูลอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. 19 ธันวาคม 2551. <http://www.thaiautoparts.or.th>.
ณรงค์ศักดิ์ นันทกสิกร. (2551). แผนการลดต้นทุนการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมการประกอบแผ่นวงจรพิมพ์. วิทยานิพนธ์ วศ.ม. วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงมณี โกมารทัต. (2544). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เดชา อินเด. (2547). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2547.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุษกร สีกา. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การกับประสิทธิผลองค์การตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น วิทยานิพนธ์ พย.ม. การบริหารการพยาบาล ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2549). การบัญชีต้นทุน 2. นครราชสีมา : บริษัทโชคเจริญมาร์เกตติ้ง จำกัด.
ปิยรัตน์ วันทอง. (2546). แนวปฏิบัติทางบัญชีบริหารของธุรกิจโรงแรมระดับมาตรฐานในภาคใต้. การศึกษาปัญหาพิเศษ. บธ.ม. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ปรีเปรม นนทลีรักษ์. (2551). ความสำเร็จของการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุนคุณภาพของบริษัทที่ได้รับรองมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พัชนี นนทศักดิ์ และคณะ. (2549). การจัดการสมัยใหม่ : บริษัทเพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด.
พิทยา บวรวัฒนา. (2545). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภนันท์ ชุ่มใจ. (2543). แนวทางในการลดต้นทุนโดยใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม. กรณีศึกษาปัญหาพิเศษ บช.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมสาร จำกัด.
สมใจ ลักษณะ. (2543). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. คณะวิทยาการจัดการสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และดวงมณี โกมารทัต. (2545). การบัญชีต้นทนุ. กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์ท้อป.
Aaker, D. V. and others. (2001). Marketing Research. 7th ed. New York : John Wiley & Sons.
Lee, C. F., Lee, J. C. and Lee, A. C.. (2000). Statistics for business and Financial Economics. 2rd ed. Singapore : World Scientific.
Quian, L. (2006). "Web-base Cost Estimation and Supplier Selection Based on Parametric Cost.Estimation," Dissertation Abstracts International. 64(12).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว