ผลกระทบของคุณลักษณะทางวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชี ของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุนิษา ธงจันทร์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จิระทัศน์ ชิตทรงสวัสดิ์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

คุณลักษณะทางวิชาชีพ, คุณภาพการสอบบัญชี, ผู้สอบบัญชีภาษีอากร

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลกระทบของคุณลักษณะทางวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย ที่สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 183 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ   ผลการวิจัย พบว่า   1) คุณลักษณะทางวิชาชีพ ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพการสอบบัญชี ด้านความสร้างสรรค์  2) คุณลักษณะทางวิชาชีพ ด้านการประยุกต์ใช้มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพการสอบบัญชี ด้านความสมบูรณ์ และ 3) คุณลักษณะทางวิชาชีพ ด้านการใช้วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพกาสอบบัญชีโดยรวม ด้านความถูกต้อง ด้านความชัดเจน ด้านความกะทัดรัด ด้านความสร้างสรรค์ด้านความสมบูรณ์ และด้านความทันกาล

References

กรมสรรพากร. (2551). รายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากร. ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2551. <http://www.rd.go.th/publish/7250.0.html>.

กวี วงศ์พุฒ. (2546). การสอบบัญชี. กรุงเทพฯ : จูนพลับลิชชิ่ง.

คณะกรรมการมาตรฐานการสอบบัญชี. (2546). การสอบบัญชี 1. กรุงเทพฯ : กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์.

จารุมนต์ ศรีสันต์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าวิชาชีพกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนัญฎา สินชื่น. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความสามารถด้านการบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านกฎหมายและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับคุณภาพการสอบบัญชี. วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2548) การสอบบัญชี. กรุงเทพฯ : ที พี เอ็น เพรส

นงลักษณ์ พัฒนบัณฑิต และคณะ. (2547). ปัจจัยในการเลือกใช้บริการจากสำนักงานบัญชีและห้างหุ้นส่วนจำกัดในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บช.ม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พยอม สิงเสน่ห์. (2545). การสอบบัญชี. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์.

สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์. (2550). คู่มือจรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพการวิเคราะห์และการจัดการลงทุน (พ.ศ. 2550). ค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2552. <http://www.fs.academy.com/new_ethics_For_website.html>.

สุชาย ยังประสิทธิ์กุล. (2549). การสอบบัญชี. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.

สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์. (2551). เศรษฐศาสตร์จุลภาค 8-9. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อมรศักดิ์ พงพศุตม์ และภิรมย์ เจียรนัย. (2549) ประมวลรัษฎากร. กรุงเทพฯ : บริษัทพิฆเนศ พรินติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด.

อุษณา ภัทรมนตรี. (2547). การตรวจสอบและการควบคุมด้านคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Aaker, D. A., Kumer, V. and Day, G. S. (2001). Marketing Research. New York : John Wiley & Sons.

Bedard, J. (1989). Expertise in Audit : Myth or Reality. Accounting Organization and Society. 14(1-2) : 113-131.

Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. 4th ed. USA: John Wiley & Sons.

Lin, K. Z., Lan, A. M., Fraser and Hatherly, D. J. (2003). Auditor Analytical Review Judgment. Accounting Organization and Society. 35(1): 19-34 ; March.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01/20/2009

How to Cite

ธงจันทร์ ส., เอี่ยมวิจารณ์ ส., & ชิตทรงสวัสดิ์ จ. (2009). ผลกระทบของคุณลักษณะทางวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชี ของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 1(1), 76–90. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/235826