ผลกระทบของบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบที่มีต่อการจัดการความรู้และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ฉัตรวรา ฉ่ำตาก้อง chatwaraKU
  • พรลภัส สุวรรณรัตน์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

บุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ , การจัดการความรู้ , ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน , การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบซึ่งประกอบบุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก บุคลิกภาพแบบเป็นมิตร บุคลิกภาพแบบแสดงออก บุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ และบุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์ กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า 2.เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างการจัดการความรู้กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า และ 3.เพื่อตรวจสอบอิทธิพลทางอ้อมของบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้าโดยมีการจัดการความรู้เป็นตัวแปรส่งผ่าน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ จำนวน 180 ตัวอย่าง ใช้โปรแกรม AMOS version 24 เป็นเครื่องมือในการวิจัย มีกระบวนการสุ่มตัวอย่างอาศัยหลักความน่าจะเป็นโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) การวิเคราะห์ความกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้าง และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐานทางตรงและทางอ้อม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าบุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก บุคลิกภาพแบบเป็นมิตร บุคลิกภาพแบบแสดงออกแสดงออก และบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ มีผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า ในขณะที่บุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์มีผลกระทบเชิงลบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า และการจัดการความรู้เป็นตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วนที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า และผลการศึกษายังพบความกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญ การศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างบุคลิกที่พึงประสงค์ของพนักงานของแต่ละองค์กรเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอันจะนำมาเพื่อความสำเร็จขององค์กรอย่างยั่งยืน

References

กุลชนา ช่วยหนู. (2552). อิทธิพลของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ส่งผ่านความรู้เกี่ยวกับการทำงานแบบกลุ่มบุคลิกลักษณะผลัดวันประกันพรุ่ง และปฏิสัมพันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชุติมา ทองไกรแก้ว. (2562). บุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบกับแรงจูงใจการให้บริการสาธารณะที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นันท์ณภัสร์ จันทร์สว่าง. (2559). การจัดการความรู้และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในเขตภาคเหนือ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

เยาวลักษณ์ ภูมิชัย. (2562). การจัดการความรู้ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการกรมศุลกากร. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Anderson, J., & Gerbing, D. (1988). Structural equation modeling in practice: a review and recommended two-step approach. Psychological Bulletin, 103, 411-423.

Baumgartner, H., & Homburg, C. (1996). Applications of structural equation modeling in marketing and consumer research: a review. International journal of Research in Marketing, 13(2), 139-161.

Boudreaux, M. J., Ferrell, B. T., Hundley, N. A., & Sherman, R. A. (2022). A personality-based measure of employability. Journal of Personnel Psychology, 21(1), 11–22

Ding, L., Velicer, W. F., & Harlow, L. L. (1995). Effects of estimation methods, number of indicators per factor, and improper solutions on structural equation modeling fit indices. Structural Equation Modeling: A Multidisciplinary Journal, 2(2), 119-143.

Duff, A., Boyle, E., Dunleavy, K., & Ferguson, J. (2004). The relationship between personality, approach to learning and academic performance. Personality and individual differences, 36(8), 1907-1920.

Pei-Lee, T., Chen, C. Y., Chin, W. C., & Siew, Y. Y. (2011). Do the big five personality factors affect knowledge sharing behavior? a study of Malaysian universities. Malaysian Journal of Library & Information Science, 16(1), 47-62.

Petrides, K. V., Vernon, P. A., Schermer, J. A., Ligthart, L., Boomsma, D. I., & Veselka, L. (2010). Relationships between trait emotional intelligence and the Big Five in the Netherlands. Personality and Individual Differences, 48(8), 906-910.

Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Evaluating structural equation models with unobservable variables and measurement error. Journal of marketing research, 18(1), 39-50.

Hair, J. F., Jr., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Kline, R. B. (2023). Principles and practice of structural equation modeling. Guilford publications. Muthén, B. O. (2002). Beyond SEM: General latent variable modeling. Behaviormetrika, 29(1), 81-117.

Muthén, L. K., & Muthén, B. O. (2002). How to use a Monte Carlo study to decide on sample size and determine power. Structural equation modeling, 9(4), 599-620.

Naowakhoaksorn, P., Suwannarat, P., Pratoom, K., & Pataraarechachai, V. (2021). Mediating role of knowledge management capability on the relationship between knowledge-oriented leadership and organizational innovativeness in public organizations. Executive Journal, 41(2), 17–36.

Naowakhoaksorn, P, Suwannarat, P., Pratoom, P., & Pataraarechachai, V., (2022). Knowledge management capability and innovativeness of public organizations: examining the moderating roles of social capital and creative organizational climate. Suranaree Journal of Social Science, 16(1), 107-125

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric Theory. 3rd Ed. New York: McGraw- Hill.

Oshio, A., Taku, K., Hirano, M., & Saeed, G., (2018). Resilience and big five personality traits: a meta-analysis. Personality and Individual Differences, 127, 54-60.

Pei-Lee, T., Chen, C. Y., Chin, W. C., & Siew, Y. Y. (2011). Do the big five personality factors affect knowledge sharing behavior? a study of Malaysian universities. Malaysian Journal of Library & Information Science, 16(1), 47-62.

Petrides, K. V., Vernon, P. A., Schermer, J. A., Ligthart, L., Boomsma, D. I., & Veselka, L. (2010). Relationships between trait emotional intelligence and the big five in the netherlands. Personality and Individual differences, 48(8), 906-910.

Putsom, W., Suwannarat, P. & Songsrirote, N. (2019b). Scale development for measuring entrepreneurial leadership competencies. Human Behavior, Development and Society, 20(3): 29–40

Suwannarat, P., Williams, D., Smith, D., & Ibrahim, G. (2010). The characteristics of international joint ventures in thailand. Journal of International Business and Economics, 10(1), 85-99.

Suwannarat, P. (2023a). Understanding the difference of values-based motivation of managerial workers in spa businesses in Thailand. International Journal of Emerging Markets. 18(2), 483 - 504.

Suwannarat, P. (2023b). The Moderating role of trust in influencing the effectiveness of export incentives of exporters in the ASEAN. Journal of Asia Business Studies. 17(2), 279 - 307.

Tabachnick, B.G. and Fidell, L.S. (2001). Using Multivariate Statistics. 4th Edition, Allyn and Bacon, Boston.

Tinsley, H. E., & Tinsley, D. J. (1987). Uses of factor analysis in counseling psychology research. Journal of counseling psychology, 34(4), 414.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/28/2025

How to Cite

ฉ่ำตาก้อง ฉ., & สุวรรณรัตน์ พ. . (2025). ผลกระทบของบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบที่มีต่อการจัดการความรู้และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย . วารสารการบัญชีและการจัดการ, 17(1), 53–72. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/270430