ผลกระทบของทักษะทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อภาวะหนี้สินครัวเรือนเกษตรกร ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ในตำบลสะแกโพรง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ทักษะทางการเงิน, โควิด 19, เกษตรกรบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะทางการเงิน และภาวะหนี้สินครัวเรือนเกษตรกร 2) เพื่อทดสอบผลกระทบของทักษะทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อภาวะหนี้สินครัวเรือนเกษตรกร และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมทักษะทางการเงิน เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนเกษตรกร ในตำบลสะแกโพรง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรในเขตตำบล สะแกโพรง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จำนวน 292 คน การเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1) การใช้แบบสอบถาม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ 2) การสนทนากลุ่ม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 6 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรมีระดับทักษะทางการเงิน และภาวะหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรในระดับปานกลาง 2) ผลกระทบของทักษะทางการเงิน ด้านทัศนคติทางการเงิน และด้านพฤติกรรมทางการเงินเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะหนี้สินครัวเรือนเกษตรกร
โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ควรส่งเสริมการปรับทัศนคติทางการเงิน และพฤติกรรมทางการเงินโดยมุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระยะยาว อีกทั้งควรมีการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีทางการเงินให้กับเกษตรกร เช่น การใช้งานแอพพลิเคชั่นการวางแผนการเงินของเกษตรกร การวางแผนค่าใช้จ่ายรายเดือน ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีทางการเงินต่างๆ และรู้เท่าทันภัยทางการเงินในรูปแบบใหม่ๆ เป็นต้น
References
กานต์พิชชา กองคนขวา. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับทักษะทางการเงิน: กรณีศึกษาเกษตรกรในอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(1), 111-128.
กัปปพล ผิวสานต์ และ ภัคจิรา นักบรรเลง. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกร อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8 (สู่ชีวิตวิถีใหม่ด้วย งานวิจัยทางสุขภาพและการบริการ). วันที่ 27 มีนาคม 2564. 511-524.
ชนาภิวัฒน์ ขันทะ และ สุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์. (2564). หนี้ครัวเรือนไทยกับแนวทางแก้ไขให้ยั่งยืน.
วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 8(1), 131-145.
ณฐมน เพิ่มสุข และนภาพร นิลาภรณ์กุล. (2564). ทักษะทางการเงินที่ส่งผลต่อความมั่งคั่งทางการเงินของกลุ่มวิชาชีพครูในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์, 11(1), 68-82.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). รายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2563. กรุงเทพฯ : ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). สถานการณ์หนี้ครัวเรือนและความคืบหน้าแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน
อย่างยั่งยืน. ค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2565, จาก https://www.bot.or.th/content/dam/bot/
documents/th/news-and-media/news/2023/news-th-20230703.pdf
ปานแก้วตา ลัคนาวานิช และ วิลาวัณย์ ดึงไตรย์ภพ. (2561). ทักษะทางการเงินของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองในเขตลุ่มนํ้าปากพนัง. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 7(พิเศษ), 111-129.
รัศมิ์จันทร์ ขวัญเมือง กลางใจ แสงวิจิตร พเนิน อินทะระ และ พรทิพย์ จิระธำรง. (2564). ผลกระทบของทักษะ
ทางการเงินที่มีผลต่อสภาวะหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในกรุงเทพมหานคร.
วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 16(1), 1-16.
วิชิต อู่อ้น. (2550). การวิจัยและการสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : พรินท์แอทมี.
ศรัญญา ศึกสงคราม และ อนงค์นุช เทียนทอง. (2563). อิทธิพลของความรู้และทัศนคติทางการเงินต่อการก่อหนี้ส่วนบุคคลในวัยเริ่มทำงาน: หลักฐานการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(5), 73-87.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). หนี้ครัวเรือนไทยปี. ค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2565, จาก https:// www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/financial/pages/household-debt-z3318.aspx
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). จำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2565, จาก http://farmerone.oae.go.th:9502/analytics/saw.dll?Portal
Bartz, A. E. (1999). Basics Statistical Concepts. 4thed. New Jersey: Prentice Hall.
Foxall, G. R., & Yani-de-Soriano, M. M. (2005). Situational influences on consumers, attitudes and behavior. Journal of Business research, 58, 518-525.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7thed. New York :Pearson
The Organization for Economic Co-operation and Development. (2016). OECD/INFE International Survey of Adult Financial Literacy Competencies. Retrieved on December 11, 2022, from https://www.oecd.org/daf/fin/financial-education/OECD-INFE-International-Survey-of-Adult- Financial-Literacy-Competencies.pdf
Yamane, T. (1973). Statistics: an Introductory Analysis. 3rded. New York : Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบัญชีและการจัดการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว