การพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพาเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจการจัดจำหน่ายและซื้อผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการบูรณาการการเรียนรู้ของเครื่องและออนโทโลยี

ผู้แต่ง

  • อนุพงษ์ สุขประเสริฐ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ดวงจันทร์ สีหราช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา, การเรียนรู้ของเครื่อง , ออนโทโลยี , ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างวิธีการประมวลผลการเรียนรู้ของเครื่องบนออนโทโลยีเชิงความหมายในการจัดจำหน่ายและซื้อผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ และ 2) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพาเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจการจัดจำหน่ายและซื้อผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ โดยบูรณาการการเรียนรู้ของเครื่องและออนโทโลยี การดำเนินงานวิจัยนี้ จำแนกได้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การรวบรวมชุดข้อมูล การพัฒนาฟังก์ชันการทำงานของแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพาด้วยการเรียนรู้ของเครื่องและออนโทโลยี การประเมินความถูกต้องในการทำนายผลลัพธ์การจัดโปรโมชันสำหรับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ด้วยเทคนิคคอนฟิวชันเมทริกซ์ และการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้ 30 คน ต่อแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา ผลการวิจัยพบว่า ชุดข้อมูลที่ใช้สร้างตัวแบบการจำแนกข้อมูล มี 3 ชุด ได้แก่ ชุดข้อมูลการผลิตสินค้า ชุดข้อมูลการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และชุดข้อมูลความชื่นชอบผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค ฟังก์ชันการทำงานของแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา มี 4 ส่วน ได้แก่ การจำแนกและแนะนำข้อมูลการจัดจำหน่ายและซื้อผลิตภัณฑ์ แคตตาล็อกสินค้า ตะกร้าสินค้า และการแจ้งชำระเงิน ระบบมีความถูกต้องในการจำแนกข้อมูลโปรโมชันสำหรับผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 85.7 และผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา อยู่ในระดับมาก งานวิจัยนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์การพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์แบบเดิม เพื่อให้ผู้ประกอบการและลูกค้าสามารถตัดสินใจในกระบวนการทำธุรกรรมทางธุรกิจผ่านระบบอันชาญฉลาด

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2540). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : บริษัทธรรมสาร.

ปศุสัตว์จังหวัดเพชรบูรณ์. (2564). บทสัมภาษณ์สถานภาพการดำเนินงาน และสภาพปัญหาในการดำเนินกิจการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์. เพชรบูรณ์ : ปศุสัตว์จังหวัดเพชรบูรณ์.

วิลย์ลิกา เพ็ญศรีสวรรค์. (2562). การบริหารจัดการร้านค้าผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ในรูปแบบร้านค้าสวัสดิการกรมปศุสัตว์. กรุงเทพฯ : กองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์.

สมพร พึ่งสม. (2556). การค้นคืนสิทธิบัตรในเชิงความหมายด้วยฐานความรู้ออนโทโลยี กรณีศึกษาสิทธิบัตรยาไทย. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Alghanam, O. A., Khatib, S. N., & Hiari, M. O.(2022). Data Mining Model for Predicting Customer Purchase Behavior in e-Commerce Context. International Journal of Advanced Computer Science and Applications, 13(2), 421-428.

Andrews, D. F. (1974). A robust method for multiple linear regression. Technometrics, 16(4), 523-531.

Gao, Z. (2022). Precision Marketing Mode of Agricultural Products E-commerce Based on KNN Algorithm. Proceedings of the 4th International Conference on Innovative Computing (IC 2021).

Jordan, J. (2017). Neural networks: training with backpropagation. Retrieved from https://www.jeremyjordan.me/neural-networks-training.

Kodinariya, T. M., & Makwana, P. (2013). Review on Determining of Cluster in K-means Clustering. International Journal of Advance Research in Computer Science and Management Studies, 1(6), 90-95.

Kularbphettong, K., Putglan, R., Tachpetpaiboon, N., Tongsiri, C., & Roonrakwit, P. (2015). Developing of mLearning for Discrete Mathematics Based on Android Platform. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 25(197), 793-796.

Liang, L., Wen, Z., Shi, Y., Liu, H., & Li, W. (2022). Design of Product Recommendation System based on Restricted Boltzmann Machine. International Journal of Scientific Engineering and Science, 6(3), 20-22.

Si, R. (2021). China Livestreaming E-commerce Industry Insights. Singapore : Palgrave Macmillan. Sinsomboontong, S. (2015). Data mining (1st ed). Bangkok : Chamchuri Products.

Tresp, V., Bundschus, M., Rettinger, A., & Huang, Y.(2008). Towards Machine Learning on the Semantic Web. Proceedings of International Workshop on Uncertainty Reasoning for the Semantic Web. October 1; 2008: 282-314.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis, 2nd Edition, New York : Harper and Row.

Zainudin, N. M., Ahmad, W. F. W., & Goh, K. N. (2010). Designing e-commerce user Interface. 2010 International Conference on User Science and Engineering (i-USEr).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/15/2023

How to Cite

สุขประเสริฐ อ. . ., & สีหราช ด. (2023). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพาเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจการจัดจำหน่ายและซื้อผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการบูรณาการการเรียนรู้ของเครื่องและออนโทโลยี. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 15(2), 187–199. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/252776