การรับรู้การเปิดใช้สนามบินนานาชาติเบตงเชิงพาณิชย์ และการตัดสินใจเพื่อการเดินทางสู่เบตงของนักท่องเที่ยวชาวไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทย และการตัดสินใจเลือกเดินทางท่องเที่ยวเมืองเบตง อันเนื่องมาจากการเปิดให้บริการท่าอากาศยานนานาชาติเบตงเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะมีเที่ยวบินทำการบินประจำเส้นทาง กรุงเทพฯ-เบตง และ เบตง-กรุงเทพฯ ภายในเดือนมีนาคม 2565 โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่รับรู้น้อยถึงน้อยมาก เกี่ยวกับท่าอากาศยานนานาชาติเบตง การเปิดให้บริการสนามบินนานาชาติเบตงเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ รวมถึงทราบว่ามีการเปิดเส้นทางบินประจำ กรุงเทพฯ-เบตง และ เบตง-กรุงเทพฯ โดยสายการบิน กลุ่มตัวอย่างไม่รับทราบข่าวสารการเปิดให้บริการสนามบินนานาชาติเบตงจากสื่อใดเลยถึง 223 คน หรือคิดเป็น 55.8% โดยหากสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวเมืองเบตงได้โดยเครื่องบิน จะมีนักท่องเที่ยวตัดสินใจไปท่องเที่ยวเมืองเบตงมากถึง 137 คน หรือคิดเป็น 34.3% นักท่องเที่ยวชาวไทย 134 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 33.5 เห็นว่าการเปิดให้บริการท่าอากาศยานนานาชาติเบตง ทำให้การเดินทางสู่เมืองเบตงสะดวกและปลอดภัยมากกว่าการเดินทางท่องเที่ยวเมืองเบตงทางรถยนต์ ซึ่งมีความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไปท่องเที่ยวเมืองเบตงทางรถยนต์จากการรับรู้สถานการณ์ความไม่สงบมากถึง 141 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 35.3 ของกลุ่มตัวอย่าง จากการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวไม่เคยมาท่องเที่ยวเมืองเบตงก่อนหน้าจากความไม่สะดวกในการเดินทางมากถึง 335 คนคิดเป็นร้อยละ 83.8 ดังนั้นการประชาสัมพันธ์ว่ามีเที่ยวบินสู่สนามบินเบตงควรได้รับการส่งเสริม เพื่อแจ้งให้นักท่องเที่ยวทราบว่ามีทางเลือกการเดินทางสู่เบตง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา. (2559). การเลือกให้ความสนใจต่อสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวประเทศไทยเทียบกับประเทศคู่แข่งในอาเซียนของชาวจีนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น. Journal of Thai Interdisciplinary Research, 11(4), 1.
ชนกพล ชัยรัตนศักดา. (2556). ประสิทธิภาพของสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทย (การศึกษาค้นคว้าอิสระ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.
ชุติมา นุตยะสกุล และประสพชัย พสุนนท์. (2559). ปัจจัยการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดลำพญา จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1), 132-147.
ชลามรินทร์ สมพงษ์. (2553). มุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการท่องเที่ยวหัวหิน. วารสารวิชาการราชภัฏตะวันตก, 4(2), 49-60
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประชด ไกรเนตร และบุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2551). การขนส่งเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: บำรุงนุกูลกิจ.
พรทิพย์ พิมลสินธุ์. (2551). การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุรีรัตน์ อินทองมาก. (2562). การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2539). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (รู้เรา-รู้เขา) (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน
ศุภร เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เอ.อาร์ บิซิเนสเพรส.
Cochran, W.G., (1977). Sampling Techniques (3rd Edition). New York: John Wiley & Sons.
Maslow, A. H. (1987). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.
Schiffman, G. L., and Kanuk, L. L. (1991). Consumer behavior (4th ed). New Jersey: Pretice-Hall.