A Study and Product Development khit Woven Fabric Case study Khit Pillow WeavingHousewife group, Ban Khok Charoen, Yasothon Province

Main Article Content

Sopa Nudang

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการผลิตภัณฑ์จากผ้าทอลาย   ขิดของกลุ่มแม่บ้านทอหมอนขิดบ้านโคกเจริญ จังหวัดยโสธร 2)  เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอลายขิด 3)  เพื่อประเมินความพึงใจที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอลายขิด กลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่มคือ 1)  ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ 2)  กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ 3)  กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผู้จำหน่าย และกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากผ้าทอลายขิด สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบประเมินเลือกรูปแบบผลิตภัณฑ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์


          ผลการวิจัย 1)  ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการผลิตภัณฑ์จากผ้าทอลายขิด พบว่า รูปแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอลายขิดมีไม่มาก ไม่หลากหลาย ซ้ำ ๆ กับกลุ่มอื่น ๆ ไม่ทันสมัย ใช้สอยได้น้อยการดูแลรักษายาก และราคาค่อนข้างสูง ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมีความต้องการรูปแบบกระเป๋าอเนกประสงค์เป็นลำดับแรก ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอเป็นกระเป๋าเอนกประสงค์เพื่อใช้สำหรับสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก 2)  ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบกระเป๋า อเนกประสงค์สำหรับสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก ได้แนวคิดมาจากรูปทรงหมอนขิดและลวดลายขิด


ผู้เชี่ยวชาญประเมินเลือกรูปแบบที่ 2 พบว่ามีค่าเฉลี่ยเหมาะสมระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.01, S.D. = 0.28) จากนั้นนำรูปแบบไปผลิตเป็นต้นแบบจริง 3)  ผลความพึงพอใจของกลุ่มผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้บริโภคที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าเอนกประสงค์ สำหรับสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก พบว่ามีค่าเฉลี่ยเหมาะสมระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 3.85, S.D. = 0.26) ในด้านหน้าที่ใช้สอย ความสวยงามน่าใช้ ความแข็งแรง ความสะดวกสบายในการใช้งาน และการดูแลรักษา

Article Details

How to Cite
Nudang, S. (2020). A Study and Product Development khit Woven Fabric Case study Khit Pillow WeavingHousewife group, Ban Khok Charoen, Yasothon Province. RMUTK Journal of Liberal Arts, 2(1), 41–53. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/larts-journal/article/view/244258
Section
Research Articles

References

คณะกรรมการอนุรักษ์หัตถกรรมไทย. (2531). ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทยที่ควรอนุรักษ์ประเภทสิ่งทอ.กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
นวลน้อย บุญวงศ์. (2542). หลักการออกแบบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา อธิปอนันต์ และคณะ. (2550). รายงานการวิจัยเรื่องกลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
เพื่อการ พึ่งตนเอง. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.
วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการ และแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ = Theory & Concept of Design. กรุงเทพฯ: i design.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2538). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.
อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2549). เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.
Howkins, J. (2001). The Creative Economy: How People Make Money from Ideas. London: Penguin Books Ltd.