การพัฒนานักการจัดการศิลปวัฒนธรรม กรณีศึกษา โครงการอบรมนักการจัดการศิลปวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 2566
DOI:
https://doi.org/10.69598/sbjfa270229คำสำคัญ:
พัฒนานักจัดการศิลปวัฒนธรรม , การจัดการศิลปวัฒนธรรม , หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร , ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม , กระบวนการทางปัญญาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์การพัฒนานักการจัดการศิลปวัฒนธรรมของโครงการอบรมนักการจัดการศิลปวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC Training of Art Manager 2023: TAM#5) และเพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนาทักษะด้านการจัดการศิลปวัฒนธรรมสำหรับองค์กรต่าง ๆ ที่สนใจกระบวนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการจัดการศิลปวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โดยการวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาร่วมกับแนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom’s Taxonomy) ผ่านการสังเคราะห์เนื้อหาและรูปแบบกิจกรรม นำไปเปรียบเทียบกับการพัฒนากระบวนการทางปัญญา ผลการวิเคราะห์นำไปสู่รูปแบบการพัฒนานักการจัดการศิลปวัฒนธรรมที่ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ 1) ปัจจัยนำเข้าการพัฒนานักการจัดการศิลปวัฒนธรรมที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีปัจจัยนำเข้าที่มีคุณภาพเช่นกัน ประกอบด้วยผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีคุณภาพ วิทยากรที่มีประสบการณ์ และเนื้อหาและกิจกรรมที่เหมาะสมที่มีการจัดลำดับการเรียนรู้จากระดับพื้นฐานไประดับสูง 2) กระบวนการควรจัดลำดับการเรียนรู้ตามระดับขั้นของกระบวนการพัฒนาทางปัญญา เริ่มต้นจากการสร้างความรู้ความเข้าใจในขั้นจดจำและเข้าใจ พัฒนาไปสู่การนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาทดลองใช้ในขั้นการประยุกต์และวิเคราะห์ ซึ่งเป็นฐานคิดในการประเมินคุณค่า นำไปสู่การสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญที่ผู้จัดกิจกรรมจะต้องกำหนดขึ้น เพื่อสร้างรูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการ อาจแบ่งออกเป็นผลผลิตที่ได้จากกิจกรรมและผลลัพธ์เกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน โดยออกแบบกิจกรรมในรูปแบบย้อนกลับ (Backward Design) นอกจากนี้ยังพบว่า โครงการอบรบนักการจัดการศิลปวัฒนธรรม ยังขาดการส่งเสริมความเข้าใจเรื่องการวัดและประเมินผลโครงการ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการเป็นนักจัดการศิลปวัฒนธรรมที่มีประสิทธิภาพสูง ผู้เขียนจึงขอเสนอให้เพิ่มเติมกิจกรรมการประเมินค่าให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนได้ศึกษาวิธีการวัดประเมินผลโครงการจากกรณีศึกษาต่าง ๆ
References
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2562). มคอ.2 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการทางศิลปวัฒนธรรม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2562). https://supreme.swu.ac.th/file_staff_upload/file_cur_tqf2/รายละเอียดหลักสูตร_100536201_20200820030802.pdf
เชาวน์มนัส ประภักดี. (2564). การขับเคลื่อนงานศิลปวัฒนธรรมในบริบทสังคมไทย: บทสังเคราะห์อุปสรรคและทางออกจากประสบการณ์นักขับเคลื่อนงานศิลปวัฒนธรรม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 6(1), 57-67.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2566, 26-28 กุมภาพันธ์). Bloom’s Taxonomy [เอกสารนำเสนอ]. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน (OBE) ตามเกณฑ์มาตรฐานระดับอุดมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, โรงแรมแคนทารีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
ภณิพล อภิชิตสกุล. (2561). นโยบายศิลปะสาธารณะ 1% โดยรัฐบาลไต้หวัน. วารสารศิลป์ พีระศรี, 6(1), 194-281.
วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (ม.ป.ป.). ระดับขั้นความสามารถของบลูม (Bloom’s Taxonomy). Active Learning: Learning for All. https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=11322.
Anderson, L. W., Krathwohl, D. R., Airasian, P. W., Cruikshank, K. A., Mayer, R. E., Pintrich, P. R., Raths, J., & Wittrock, M. C. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. Pearson.
Apichitsakul, P. (2019). One Percent Public Art Policy by Taiwanese Government. Silpa Bhirasri (Journal of Fine Arts), 6(1), 194–218. [In Thai]
BACC Education Community. (2023, July 4). เตรียมตัวให้พร้อม TAM#5 กลับมาแล้ว [Photograph]. Facebook. https://www.facebook.com/photo/?fbid=756099422980162&set=a.756099652980139
______. (2023a, September 4). TAM#5 [Photograph]. Facebook. https://www.facebook.com/photo.php?fbid=786453693278068&set=pb.100057403331503.-2207520000&type=3
______. (2023b, September 10). TAM#5 [Photograph]. Facebook. https://www.facebook.com/photo.php?fbid=789663239623780&set=pb.100057403331503.-2207520000&type=3
______. (2023c, September 10). TAM#5 [Photograph]. Facebook. https://www.facebook.com/photo.php?fbid=789663299623774&set=pb.100057403331503.-2207520000&type=3
Bateman, T., Konopaske, R., & Snell, S. A. (2018). Management: Leading & Collaborating in a Competitive World (13th ed). McGraw Hill.
Bendixen, P. (2000). Skills and Roles: Concepts of Modern Arts Management. International Journal of Arts Management, 2(3), 4–13.
Byrnes, W. J. (2022). Management and the Arts (6th ed). Routledge.
Chansuwan, W. (n.d.). Bloom’s Taxonomy. Active Learning: Learning for All. https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=11322. [In Thai]
Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University. (2019). TQF: HEd.2, Bachelor of Arts Program in Arts and Cultural Management Innovation (New program 2019). https://supreme.swu.ac.th/file_staff_upload/file_cur_tqf2/รายละเอียดหลักสูตร_100536201_20200820030802.pdf [In Thai]
Foster, K. (2023). Arts and Cultural Leadership Creating Sustainable Arts Organizations (2nd ed.). Routledge
Prapakdee, C. (2021). Operating arts and Culture Work in the Context of Thai Society: Synthesis of Obstacles and Solutions from Experiences of Art and Culture Operating. Journal of BSRU-Research and Development Institute, 6(1), 57-67. [In Thai]
Songkram, N. (2023). Bloom’s Taxonomy [Paper presentation] Graduate Program Development Seminar Project, focus on Outcome-based education (OBE) to higher education standards. Kantary Hotel, Ayuthaya. [In Thai]
Tavkhelidze, T. (2016) The Role Arts Management in Modern World. European Scientific Journal, 14(1), 317-391.
Taylor, A. (n.d.). What is Arts Management. ArtsManaged Field Guide. https://guide.artsmanaged.org/1_fundamentals/What+is+Arts+Management%3F

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 อนิวัฒน์ ทองสีดา, วรฉัตร วาทะพุกกณะ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่แก้ไขดัดแปลง (CC BY-NC-ND 4.0)
อนุญาตให้สาธารณชนสามารถนำไปใช้โดย:
- แบ่งปัน: คัดลอกและแจกจ่ายเนื้อหาในสื่อหรือรูปแบบใดก็ได้
- แสดงที่มา: ให้เครดิตอย่างเหมาะสมแก่ผู้เขียน และวารสารว่าเป็นแหล่งที่มา
- ไม่ใช้เพื่อการค้า: ห้ามนำงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์
- ไม่ดัดแปลง: ใช้งานต้นฉบับเท่านั้น ผลงานต้องไม่ถูกดัดแปลง
ทัศนะและข้อคิดเห็นในบทความเป็นของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้อง และไม่รับผิดชอบต่อข้อคิดเห็นเหล่านั้น