กำเนิดของสวนทิวทัศน์แห้งและความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม
DOI:
https://doi.org/10.69598/sbjfa246763คำสำคัญ:
สวนทิวทัศน์แห้ง, สวนธรรมชาติ, จิตรกรรมหมึกดำ, อาคารเจ้าอาวาส (โฮโจ), เซนบทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายจะศึกษาที่มาของการถือกำเนิดของสวนแบบธรรมชาติและสวนทิวทัศน์แห้งในวัดศาสนาพุทธ นิกายเซนประเทศญี่ปุ่น โดยใช้วิธีการศึกษาปรัชญาและวิถีปฏิบัติแบบเซน การทำความเข้าใจอุดมคติของธรรมชาติและการจำลองธรรมชาติให้กลายมาเป็นศิลปะที่แสดงออกซึ่งอุดมคติดังกล่าวได้ จากนั้นทำการวิเคราะห์องค์ประกอบศิลปะของสวน จิตรกรรมและสถาปัตยกรรม ผลการศึกษาพบว่าจิตรกรรมทำหน้าที่สัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมในฐานะการสร้างโลกธรรมชาติในอุดมคติจำลองขึ้น สวนแบบธรรมชาติและสวนทิวทัศน์แห้งที่เกิดขึ้นตามปรัชญาเซนและมีพัฒนาการร่วมกันกับศิลปะทั้งสองประเภทนั้นมีความหมายของการสร้างพื้นที่เชิงอุดมคติ เนื่องจากดั้งเดิมวัดเซนมักหลักหนีความวุ่นวายในเมืองไปอาศัยสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของป่าเขา โดยสวนในยุคแรกเป็นการจำลองอุดมคติโดยใช้องค์ประกอบของน้ำตก สระน้ำ ต้นไม้และหิน วัดที่มีสวนแบบนี้มักตั้งอยู่ในหรือใกล้ธรรมชาติ เช่น เชิงเขาหรือในป่า ในอีกด้านหนึ่ง วัดในเมืองที่มีพื้นที่จำกัดก่อให้เกิดแนวทางการออกแบบใหม่ ประกอบกับการเห็นความหมายของการสร้างความสะอาดในพิธีรับเจ้าอาวาสใหม่ทำให้มีการโรยกรวดขาวบนพื้นที่ทิศใต้ของอาคารเจ้าอาวาส สื่อความหมายถึงความสะอาดของพื้นที่และจิตใจของผู้เข้าร่วมพิธี ความงามที่เกิดขึ้นค่อยพัฒนากลายเป็นสวนทิวทัศน์แห้ง สวนนี้ยังนำเสนอความงามตามแบบประเพณีญี่ปุ่นคือ โยะฮะคุหรือความงามที่เกิดจากการสร้างพื้นที่ว่าง สวนทิวทัศน์แห้งยังเป็นสถานที่ช่วยในการปฏิบัติสมาธิด้วยมีลักษณะที่เป็นนามธรรมมากพอที่เอื้อต่อการทำจิตให้สงบ พระเซนนั่งปฏิบัติจิตที่ระเบียงติดสวนจึงทำให้สวนมีความหมายเป็นโคอันหรือคำถามสำหรับการฝึกตนแบบเซนอีกด้วย และเมื่อเปรียบเทียบอุดมคติและองค์ประกอบของสวนกับจิตรกรรมทิวทัศน์หมึกดำพบว่าศิลปะทั้งสองแขนงมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งเพื่อนำเสนอแนวความคิดเรื่อง “ภูเขาลึกหุบเขาซ้อน”

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่แก้ไขดัดแปลง (CC BY-NC-ND 4.0)
อนุญาตให้สาธารณชนสามารถนำไปใช้โดย:
- แบ่งปัน: คัดลอกและแจกจ่ายเนื้อหาในสื่อหรือรูปแบบใดก็ได้
- แสดงที่มา: ให้เครดิตอย่างเหมาะสมแก่ผู้เขียน และวารสารว่าเป็นแหล่งที่มา
- ไม่ใช้เพื่อการค้า: ห้ามนำงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์
- ไม่ดัดแปลง: ใช้งานต้นฉบับเท่านั้น ผลงานต้องไม่ถูกดัดแปลง
ทัศนะและข้อคิดเห็นในบทความเป็นของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้อง และไม่รับผิดชอบต่อข้อคิดเห็นเหล่านั้น