บทบาทพระมหากัสสปเถระในการประกาศพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการมุ่งวิเคราะห์บทบาทสำคัญของพระมหากัสสปเถระด้านการประกาศพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญต่อการก่อรูปของพระพุทธศาสนา หากขาดพระมหากัสสปเถระอาจจะไม่เกิดขึ้นและมีอายุยาวกระทั่งถึงปัจจุบัน ท่านได้ทำหน้าที่เป็นประธานปรารภการทำปฐมสังคายนาเป็นครั้งแรก ได้คัดเลือกพระผู้ทำสังคายนา วางกรอบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การถามตอบปัญหาธรรมะ นอกจากนั้นตัวท่านเองได้ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างของภิกษุรุ่นหลัง ท่านใช้ดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับสมณะวิสัยโดยการถือธุดงควัตร 13 ข้อตลอดชีวิต เป็นแบบอย่างจนได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเอตทัคคะผู้เลิศด้านการถือธุดงค์ 13 มีการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นต้น ซึ่งการปฏิบัติตนนี้ทำให้ท่านมีบริวารจำนวนมาก ส่งผลให้การประกาศพระศาสนาลงหลักปักฐานและขยายไปทั่วอินเดีย โดยเฉพาะการทำสังคายนาพระธรรมวินัยที่ท่านเป็นประธาน ถือได้ว่าเป็นประโยชน์แก่หมู่ชนเป็นอันมาก ต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง พระมหากัสสปเถระมีภาวะความเป็นผู้นำสูง อบรมสั่งสอนประชาชนให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา มีความชำนาญเฉพาะด้านธุดงควัตร มีส่วนช่วยประการศพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองจนถึงทุกวันนี้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระครูปลัดทินกร คงถาวร. (2565). ธุดงควัตร : แนวทางพัฒนาศาสนทายาทในพระพุทธศาสนา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 27(1), 80-93.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2545). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมดา.
พระมหาระพีพงศ์ คำเหลี่ยม. (2567). การเผยแผ่ธรรมด้านธุดงควัตรของพระมหากัสสปเถระเพื่อประยุกต์ใช้ในสังคมสงฆ์ไทย. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 683–692.
พิฑูร มลิวัลย์ และ ไสว มาลาทอง. (2553). ประวัติพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.