แนวทางการพัฒนาตนเพื่อการบรรลุธรรมในกูฏทันตสูตร

Main Article Content

พระครูธรรมธรปัญญพาวัฒน์ คงทอง
มานพ นักการเรียน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและสาระสำคัญในกูฏทันตสูตร 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาตนและการบรรลุธรรมในคัมภีร์พระไตรปิฎก 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาตนเพื่อการบรรลุธรรมในกูฏทันตสูตร เป็นการวิจัยแบบคุณภาพ เน้นวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ เรียบเรียง และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า  แนวทางการพัฒนาตนเพื่อการบรรลุธรรมในกูฏทันตสูตรเป็นการพัฒนาตนตามหลักยัญคือทาน ซึ่งหมายถึง นิตยทาน ได้แก่ ทานประจำที่ทำตามสืบต่อกันมาของวงศ์ตระกูล ถือว่าเป็นการพัฒนาตนเองระดับทานคือ รู้จักเสียสละทรัพย์ของตนเพื่อคนอื่น หลักยัญคือไตรสรณคมน์ได้แก่ การเลื่อมใสพระรัตนตรัยถือเป็นสรณะ ถือว่าเป็นการพัฒนาตนเองในระดับปัญญาคือ รู้จักหาที่พึ่งเพื่อความพ้นทุกข์ หลักยัญคือศีล หมายถึงบุคคลผู้มีจิตเลื่อมใสสมาทานศีล 5  ถือว่าเป็นการพัฒนาตนเองในระดับศีลคือ การไม่เบียนเบียนตนและบุคคลอื่นให้ได้รับความเดือดร้อน หลักยัญคือฌาน 4 ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน เป็นต้นถือว่าเป็นการพัฒนาตนเองระดับสมาธิคือ มีความตั้งใจมั่นมีสติมั่นคงในพระรัตนตรัย มีจิตไม่ฟุ้งซ่านไปในทางที่ผิด และหลักยัญคือวิชชา 8 ได้แก่ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิญาณ อิทธิวิธญาณ ทิพพโสตญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพ  นิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ และ  อาสวักขยญาณ เมื่อได้ปฏิบัติตามญาณเหล่านี้จิตย่อมพ้นจากกามาสวะ  ภวาสวะ และอวิชชาสวะ บรรลุมรรค ผล และนิพานได้ในที่สุด ผลจากการฟังธรรม พราหมณ์กูฏทันตะได้บรรลุพระโสดาบันและแสดงตนเป็นอุบาสก

Article Details

How to Cite
คงทอง . พ. ., & นักการเรียน ม. . (2025). แนวทางการพัฒนาตนเพื่อการบรรลุธรรมในกูฏทันตสูตร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 77–86. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275499
บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบําบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ. (2537). ปทานุกรม บาลีไทย อังกฤษ สันสกฤต. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 13) . กรุงเทพฯ: เอส อาร์พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระพุทธโฆสเถระ. (2554). วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ อาจ อาสถมหาเถร แปลและเรียบเรียง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระอรรถชาติ เดชดํารง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ( 2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราตรี พัฒนรังสรรค์. (2544). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.