การให้บริการฌาปนสถานตามหลักพุทธธรรมของเจ้าหน้าที่วัดในสองวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

พระครูปลัดไพโรจน์ สุขกลิ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการฌาปนสถานของเจ้าหน้าที่วัดในสองวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการตามหลักพุทธธรรม 2) เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการฌาปนสถานของเจ้าหน้าที่วัดในสองวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ตามหลักพุทธธรรม จำแนกตามตัวแปรอิสระ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการฌาปนสถานของเจ้าหน้าที่วัดในสองวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่ายจากผู้ที่มาร่วมงานฌาปนกิจ จำนวน 306 คน ตั้งแต่การบำเพ็ญกุศลศพจนถึงฌาปนกิจศพ ที่ฌาปนสถานวัดในสองวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวม ผู้ที่มาร่วมงานฌาปนกิจ ตั้งแต่การบำเพ็ญกุศลศพจนถึงฌาปนกิจศพ ที่ฌาปนสถานวัดในสองวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการฌาปนสถานของเจ้าหน้าที่วัดในสองวิหาร อำเภอเมือง สมุทรปราการ ตามหลักพุทธธรรม ที่มีเพศ อายุอาชีพ รายได้ และประสบการณ์ในการใช้บริการที่ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการฌาปนสถานของเจ้าหน้าที่วัดในสองวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ตามหลักพุทธธรรม โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2566). มาตรฐานสุสานและฌาปนสถาน. สืบค้นเมือ 24 มกราคม 2566, จาก http://irrigation.rid.go.th/rid14/water/library/shelf/formula

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

แปลก สนธิรักษ์. (2531). พิธีกรรมและประเพณี. กรุงเทพฯ: เจริญจิต.

พระโสภณ ทองสม. (2563). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนวัดใหม่ทุ่งคาอําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(3), 15-25.

มณี พยอมยงค์. (2537). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาส์น.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 40). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. รายงานการศึกษาการกระจายตัวของฌาปนสถานในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมือ 24 มกราคม 2566, จาก http://cpd.bangkok.go.th:90/web2/strategy

อุดม เชยกีวงศ์. (2545). ประเพณีพิธีกรรมท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

นิยม วงศ์พงษ์คํา และ กิตติสันต์ ศรีรักษา. (2565). พัฒนาการและรูปแบบเมรุลอยรูปนกหัสดีลิงค์ในภาคอีสาน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 214-238.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.