การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารวัดตามทัศนคติของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาทัศนคติต่อการประยุกใช้พรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัดของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของพระสงฆ์ต่อการประยุกใช้พรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามตัวแปรอิสระ เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกใช้พรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัดตามทัศนะคติของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี การวิจัยนี้เป็นเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ผลการวิจัย พบว่า การประยุกต์ใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัดตามทัศนคติของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี มีทัศนติเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัดตามทัศนคติของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีโดยแบ่ง ลักษณะบุคคล พบว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรมและวุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรม มีทัศนคติต่อการการประยุกต์ใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัดตามทัศนคติของพระสงฆ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 แนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัดตามทัศนคติของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี พบว่า พระสงฆ์นั้นยังขาดทักษะและความสามารถในการจัดการบริหารองค์กร ขาดงบประมาณในการสนับสนุน ควรส่งเสริมด้านทุนช่วยเหลือจากภาครัฐและภาคเอกชนในการที่จะทำสื่อเพื่อการพัฒนารูปแบบการเผยแผ่ให้ทันสมัยยิ่งขึ้นในเชิงรุกโดยการใช้สื่อเทคโนโลยี ด้านสร้างปฏิสังขรณ์ดูแลถาวรวัตถุยังขาดผู้ที่มีความรู้ความสามารถวัดกับชุมชนขาดการติดต่อประสานงานที่ดีต่อกันในการจัดกิจกรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการศาสนา. (2539). คู่มือการจัดการศึกษาสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
ประเวศ วะสี. (2539). หลักการบริหารจัดการวัดในยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ.
พระครูนิพัทธ์กิจจานุกูล (สมนึก จันทร์เจริญ). (2566). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 626-642.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระภาวนามังคลาจารย์ (ธนมงคล นาประกอบ), พระมหาสมบูรณ์ ทองแก้ว และ สมชัย ศรีนอก. (2566). องค์ความรู้ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา หลักปฏิสัมภิทา 4. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 769-776.
พระมหาธนัช คมฺภีรญาโณ. (2566). บทบาทและกระบวนการพัฒนาวัดเชิงสร้างสรรค์ของคณะสงฆ์อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 8(1), 163-175.
พัฒติยา อังคุนะ, ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี และ พระพลากร สุมงฺคโล (อนุพันธ์). (2566). แนวทางพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 40-57.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ดแอนด์โฮม.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space for Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.