การจัดการเรียนรู้ด้วยการเจริญอานาปานสติเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระปริยัติธรรมพรหมวชิรญาณ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระเปรมชัย พงาตุนัด

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ก่อนและหลังการทำอานาปานสติสมาธิ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนในการทำอานาปานสติสมาธิกับการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ รูปแบบการวิจัยเป็น การวิจัยเชิงทดลอง พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรมพรหมวชิรญาณ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 16 รูป ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์
2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test)
          ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการทำอานาปานสติสมาธิ มีผลการเรียนที่สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจของนักเรียนในการทำอานาปานสติสมาธิกับการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก นักเรียนที่ทำอานาปานสติสมาธิหลังเรียนมีผลการเรียน การตั้งใจเรียน คะแนนสอบ สูงกว่าก่อนเรียน เพราะว่าอานาปานสติ คือวิธีหรือกลไกที่ทำให้จิตของผู้ปฏิบัติมีความสงบเย็นเป็นกลางรู้เท่าทันทุกขณะของอิริยาบถที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีสติไม่หลงลืม มีใจเป็นกลางไม่อคติเหมาะแก่การรับความรู้ใหม่ ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรวัฒนา พุ่มด้วง. (2562). การเพิ่มศักยภาพพฤติกรรมการเรียนรู้ในการใช้หลักอานาปานสติของนักศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี:กรณีศึกษานักศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 3(2) 43-53.

ณัทรัชตา ทะรีนทร์. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ต่อหน่วยการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับผังความคิด. Journal of Modern Learning Development, 5(2) 26-39.

พรกมล จันทรีย์. (2544). ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยในระดับตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระกิตติพัฒน์ ธงสถาพรวัฒนา. (2564). การศึกษาสมถยานิกในอานาปานสติตามคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารสหวิทยาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 607-618.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 39). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหานฤทธิ์ วงศ์เมืองแก่น. (2554). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในตัวเอง และความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อวิธีการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ. วารสารศึกษาศาสตร์, 5(1) 73-79.

พระสุภิจ เอี่ยมสุภาษิต. (2563). ผลของการเจริญสติและกระบวนการแก้ปัญหาที่มีต่อความเครียดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 8(2) 585-595.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รังสิยา นรินทร์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(1), 57-70.

วลิดา อุ่นเรือน. (2566) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความสร้างความรู้ด้วยการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลสำหรับนักศึกษาครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 5 (1), 222-237.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.