โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานบริษัทเครื่องดื่มแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์กร แรงจูงใจในการทำงาน และพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) อิทธิพลทางตรงของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อวัฒนธรรมองค์กร 3) อิทธิพลทางตรงของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อแรงจูงใจในการทำงาน 4) อิทธิพลทางตรงของวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม 5) อิทธิพลทางตรงของแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม 6) อิทธิพลทางอ้อมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านวัฒนธรรมองค์กร และ 7) อิทธิพลทางอ้อมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านแรงจูงใจในการทำงาน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัทเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 185 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์กร แรงจูงใจในการทำงาน และพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมอยู่ในระดับสูงทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ,4.52 ,4.41 และ 4.49 ตามลำดับ 2) อิทธิพลทางตรงของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อวัฒนธรรมองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3) อิทธิพลทางตรงของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 4) อิทธิพลทางตรงของวัฒนธรรมองค์กรไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 5) อิทธิพลทางตรงของแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 6) อิทธิพลทางอ้อมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านวัฒนธรรมองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 7) อิทธิพลทางอ้อมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ก้องภพ ขันติพงศ์พันธุ์. (2561). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และองค์การแห่งความยั่งยืนต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์ นวัตกรรม: กรณีศึกษาพนักงานของบริษัทในกลุ่มสมบูรณ์. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์, 1(3), 45-57.
ฐิติรัตน์ มีมาก, ธนนันท์ ทองเลิศ และ อภิวัฒน์ พลสยม. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผล ต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทผลิตแผงวงจรไฟ้ฟ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(2), 74-88.
สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล. (2561). โครงสร้างและกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ. รัฏฐาภิรักษ์, 60(3), 8-21.
วรชัย สิงห์ฤกษ์ และ ประสพ ชัยพสุนนท์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 9(2), 77-90.
สุภาพร เพ่งพิศ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดนครปฐม. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(3), 131-146.
สุขสันติ์ เปลี่ยนเจริญ และ มะดา โอะสุหลง. (2565). ผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง และวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานกรณีศึกษา บริษัทรับเหมาในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 80-98.
สถาบันอาหาร. (กันยายน 2562). เครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567, จาก https://fic.nfi.or.th/market-intelligence-detail.php?smid=272
Techsauce Team. (29 มีนาคม 2565). นวัตกรรมสร้างได้ผู้นำต้องเปลี่ยนคนต้องพร้อม. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567, จาก https://techsauce.co/saucy-thoughts/innovation-can-create-leaders-must-change-people-must-be-ready
Bass, B. M., & Riggio, R. E. (2010). The Transformational Model of Leadership. Leading Organizations: Perspectives for a New Era, 2(1), 76-86.
Best, J. W. (1993). Research in Education. (7 Ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and The Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. Anderson, R.E. (2014). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New York: Pearson.
Kleysen, R. F., & Street, C. T. (2001). Toward A Multi‐Dimensional Measure of Individual Innovative Behavior. Journal of Intellectual Capital, 2(3), 284-296.
Maslow, A. H. (1954). The Instinctoid Nature of Basic Needs. Journal of Personality, 22, 326–347.
Robbins, J. (2004). The Globalization of Pentecostal and Charismatic Christianity. Annual Review of Anthropology, 33, 117-143.