การพัฒนาหลักสูตร: บทวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เพื่อเตรียมความพร้อมการศึกษาในยุค Next Normal

Main Article Content

พระมหาโกศล มาดี
ฉัตรระวี มณีขัติย์

บทคัดย่อ

ระบบการศึกษาไทยมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยหลักสูตรทางการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนการพัฒนาการศึกษาชาติ ซึ่งมีความมุ่งหวังที่จะให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ที่สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถึงกระนั้น ด้วยสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นปัจจัยแทรกที่ทำให้ระบบการศึกษามีปัญหา ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของการพัฒนาหลักสูตรด้วย โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบการศึกษาไทย บทความนี้ได้นำเสนอบทวิเคราะห์เชิงวิพากษ์การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาของไทยเพื่อเตรียมความพร้อมในยุค Next Normal ซึ่งถือว่าเป็นยุคถัดไปหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ระบบการศึกษาจำต้องเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างระบบการศึกษาในยุคที่เราไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาของไทยเฉกเช่นสถานการณ์โควิด-19 นี้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). บทความปริทัศน์ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), A1-A3.

ดารุณี บุญครอง. (2560). วิเคราะห์แนวทางการจัดการศึกษาไทยกับการขับเคลื่อนการศึกษาสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 17(2), 1-25.

ประหยัด พิมพา. (2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด7(1), 245-248.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2563). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน ด้วยการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5), 186-199.

รวีวรรณ วงค์เดชานันทร์ และ ศักดิ์ดา หารเทศ. (2564). การส่งเสริมจิตสาธารณะตามโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริหลักสูตรจิตอาสา 904. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(3), 143-157.

วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2558). ปัญหาการศึกษาไทย : การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ,15(2), 48-55.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2556). การบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในทศวรรษหน้า. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 4(1), 216-226.

ออมสิน จตุพร. (2562). การเมืองเชิงวัฒนธรรมในหลักสูตรท้องถิ่น: บทเสนอว่าด้วยศาสตร์การศึกษาท้องถิ่นชนบทเชิงวิพากษ์. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 10(1), 92-118.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace, Jovanovich.

Beauchamp, G. A. (1981). Curriculums Theory. (4th ed.). Illinois: F.E. Peacock.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.