การบริหารจัดการสังคมพหุวัฒนธรรมตามหลักสาราณียธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับการบริหารจัดการสังคมพหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการสังคมพหุวัฒนธรรมตามหลักสาราณียธรรม 6 ของกลุ่มชาติพันธุ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการสังคมพหุวัฒนธรรม โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับการบริหารจัดการสังคมพหุวัฒนธรรม พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูง 3) แนวทางการบริหารจัดการสังคมพหุวัฒนธรรมตามหลักสาราณียธรรม 6 ประกอบด้วย 1) ด้านเมตตากายกรรม คือ ควรมีการให้เกิดความเคารพกันช่วยเหลือกันและเกิดความสามัคคีในชุมชน 2) ด้านเมตตาวจีกรรม คือ ควรใช้วาจา คำพูดที่สุภาพ มีน้ำเสียงที่ไพเราะชวนฟัง 3) ด้านเมตตามโนกรรม คือ ควรมีความเมตตาต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง 4) ด้านสาธารณโภคี คือ ควรมีน้ำใจเฉลี่ยแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 5) ด้านสีลสามัญญตา คือ ควรมีการบังคับใช้กฎ ระเบียบ ที่เสมอภาคและเท่าเทียม และ 6) ด้านทิฏฐิสามัญญตา คือ ควรมีความเชื่อมั่นในหลักการร่วมกัน ร่วมรับผิดชอบต่อหน้าที่ภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2562). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
ธีระรัตน์ กิจจารักษ์. (2562). บริหารการศึกษา. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
บังอร ปิยะพันธุ์. (2541). ลาวในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมฺจิตตฺโต). (2559). พุทธวิธีในการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ, อุทัย ภูคดหิน, ทิพย์ภวิษณ์ ใสชาติ และ พีรวัส อินทวี. (2563). พหุวัฒนธรรม: การอยู่ร่วมกันของชุมชนตามแนวสาราณียธรรมเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(5), 2313-2325.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2563). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมส โปรดักส์.
พระมหาธนวิชญ์ กิจเดช. (2562). การอยู่ร่วมกันของชุมชนพหุวัฒนธรรมตามหลักสาราณียธรรม 6 : ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม และชุมชนมัสยิดต้นสน กรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาปัญญา โยธาตรี. (2563). การบริหารจัดการชุมชนตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอนันต์ จิตอารี. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักสาราณียธรรม 6 ในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2547). ลาวในเมืองไทยกลุ่มชาติพันธ์ที่คลุมเครือ. วารสารเมืองโบราณ, 30(2), 74-88.
วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2562). ครอบครัวในความหมายใหม่ การค้นหาชีวิตแบบใหม่. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (17 มิถุนายน 2566). ฐานข้อมูลชาติพันธุ์/กลุ่มชาติพันธุ์/ลาวเวียง. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2566. จาก https://ethnicity.sac.or.th/database-ethnic/205/
อดิศร คงทอง. (2565). การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักสาราณียธรรมในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลขนอม อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อมรา พงศาพิชญ์. (2547). มนุษย์กับวัฒนธรรมในสังคมและวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.