วิเคราะห์การตัดปลิโพธ 10 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

Main Article Content

พระปลัดจักรทิพย์ อภิญาณวงศ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปลิโพธ 10 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ 2) เพื่อวิเคราะห์การตัดปลิโพธ 10 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ปลิโพธ หมายถึง ความห่วงใย ความกังวล เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุปสรรคสำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ได้แก่ 1. อาวาสปลิโพธ เครื่องกังวลคือที่อยู่ 2. กุลปลิโพธ เครื่องกังวลคือตระกูล 3. ลาภปลิโพธ เครื่องกังวลคือลาภสักการะ 4. คณปลิโพธ เครื่องกังวลคือหมู่คณะ 5. กัมมปลิโพธ เครื่องกังวลคือนวกรรม 6. อัทธานปลิโพธ เครื่องกังวลคือการเดินทาง 7. ญาติปลิโพธ เครื่องกังวลคือญาติ 8. อาพาธปลิโพธ เครื่องกังวลคือโรคภัยไข้เจ็บ 9. คันถปลิโพธ เครื่องกังวลคือการเล่าเรียน 10. อิทธิปลิโพธ เครื่องกังวลคือการแสดงอิทธิฤทธิ์
ผลการวิเคราะห์การตัดปลิโพธ 10 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ปลิโพธเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะตัดออกไปจากชีวิตได้ พระสงฆ์จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กับปลิโพธทั้งหลาย คือ ที่อยู่ ตระกูล ลาภสักการะ หมู่คณะ การงาน การเดินทาง ญาติ ความเจ็บป่วย การศึกษาเล่าเรียน และอิทธิฤทธิ์ ซึ่งพระสงฆ์ในฐานะมนุษย์มีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ร่วมกัน ต้องอาศัยที่อยู่ ต้องศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น หากในเมื่อไม่สามารถตัดออกได้ พระสงฆ์จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้เป็นเครื่องกังวลกีดขวางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา จากการศึกษาผู้วิจัยวิเคราะห์ ผู้วิจัยได้พบวิธีการตัดปลิโพธ 10 ในการปฏิบัติวิปัสสนามีแนวทางในการจัดการกับปลิโพธได้ 5 ประการ คือ 1. การชำระสะสางการงานให้เรียบร้อย 2. การมอบหมายภาระหน้าที่ให้แก่ผู้ที่สมควร 3. การบอกกล่าว 4. การหลีกตัวออก 5. การเตรียมใจ
โดยองค์ความรู้จากงานวิจัยนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับพระภิกษุผู้ปฏิบัติวิปัสสนา โดการชำระสะสางการงานของตนให้เรียบร้อย งานที่ไม่สามารถกระทำได้ให้มอบหมายแก่ผู้อื่นที่มีความสามารถเป็นผู้จัดการต่อ บอกกล่าวแก่ผู้อื่นให้ทราบก่อน แล้วจึงหลีกตน เตรียมใจในการมุ่งปฏิบัติวิปัสสนาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ปินปภา โสภณ. (2558). ประสิทธิผลของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ วัดตาลเอน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พระ ดร.พี วชิรญาณมหาเถระ. (ม.ป.ป). สมาธิในพระพุทธศาสนา สมถกรรมฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพุทธโฆสาจารย์. (2554). วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ อาจ อาสถมหาเถร แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพมหานคร : ธนาเพรสจำกัด.

พุทธทัตตะ. (2560). พุทธวงศ์. เรียบเรียงโดย หลวงพ่อชุมพล พลปุญฺโญ. นนทบุรี : บริษัท สยามคัลเลอร์พริน จำกัด.

พุทธทาสภิกขุ. (2533). อานาปานสติภาวนา. กรุงเทพมหานคร : หจก. การพิมพ์พระนคร.