วิเคราะห์การปิดกั้นการไปอบายภูมิด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา

Main Article Content

สุกัญญา นาทมพล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การปิดกั้นการไปอบายภูมิด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา งานวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสรุปวิเคราะห์ เรียบเรียง บรรยายเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า อบายภูมิตามหลักการในคัมภีร์พุทธศาสนา หมายถึง ถิ่น, ดินแดน, ภูมิ อันเป็นโลกที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์ผู้กระทำอกุศลกรรมบถ ทางกายวาจาใจ ไม่อยู่ในศีล เป็นมิจฉาทิฎฐิ  มีจิตมักโลภ โกรธ หลง อันมีลักษณะปราศจากความเจริญ ทนอยู่อยากต้องรับทุกข์รับโทษสถานเดียว มี 4 ภูมิ คือ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก การเจริญวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 เพียรพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเพียงสภาวของรูปธรรมและนามธรรม รู้แจ้งไตรลักษณ์ เป็นกระบวนการของจิตก่อให้เกิดปัญญาญาณในการพัฒนา สติ สมาธิ ปัญญา เป็นไปเพื่อละตัณหาอุปาทาน  เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน


วิเคราะห์การปิดกั้นการไปอบายภูมิด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนาเมื่อผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 จนเกิดปัญญาญาณแก่กล้าบรรลุญาณ 16 (โสฬสญาณ) จักเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบัน ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ละอนุสัยกิเลสเป็นสมุปเฉทประหาณ ปิดกั้นการไปอบายภูมิได้อย่างถาวร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบําบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พนิตา อังจันทรเพ็ญ. (2553). สมุดภาพไตรภูมิพระร่วง. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ). (2534). คู่มือสอบอารมณ์กรรมฐาน ญาณ 16. กรุงเทพฯ: มูลนิธิอภิธรรมมหาธาตุ.

พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). (2511). ภูมิวิลาสินี. กรุงเทพฯ: วัดยานนาวา.

พระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร). (2545). โลกทีปนี. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

พระพุทธโฆสเถระ. (รจนา). (2554), คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2551). มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีเอโอเซ็นเตอร์.

พระอรรถชาติ เดชดํารง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มานพ นักการเรียน และ พระภาวนาพิศาลเมธี วิ. (2560). การร้อดพ้นอบายภูมิตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 3(1), 28-48.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2564). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 56). กรุงเทพฯ:สหธรรมิก.

เสถียรโกเศศ. (2518). เล่าเรื่องในไตรภูมิ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คลังวิทยา.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.