ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมอีสานที่ปรากฏในผลงานของสวิง บุญเจิม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมอีสานที่ปรากฏในผลงานของสวิง บุญเจิม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ แบบพรรณนาวิเคราะห์ การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผลงานที่เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมอีสาน จำนวน 8 เล่ม ผลศึกษาภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมอีสานที่ปรากฏในผลงานของสวิง บุญเจิม พบ 2 ประเภท คือ 1) วัฒนธรรมทางวัตถุ ได้แก่ ภาพสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ ด้านสรรพสิ่งและสิ่งมีชีวิต ด้านอาหารการกิน ด้านการละเล่น ดนตรี และด้านการทำมาหากิน 2) วัฒนธรรมทางใจ ได้แก่ ภาพสะท้อนประเพณี สะท้อนขนบประเพณีแต่งงาน ประเพณีการบวช ประเพณีเกี่ยวกับงานศพ ประเพณีสู่ขวัญ ภาพสะท้อนความเชื่อสะท้อน ความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ความเชื่อเรื่องผี ความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ ความเชื่อความฝัน และภาพสะท้อนกฎระเบียบทางสังคม สะท้อน หลักปฏิบัติสำหรับผู้ปกครอง ต้องเป็นผู้มีความเที่ยงธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ยึดหลักพรหมวิหาร 4 การตั้งตนไว้ชอบ และการไม่โอ้อวดและหลงตน หลักปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์ หลักปฏิบัติสำหรับบุคคลทั่วไป ชาวอีสานยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ ประกอบด้วย การถือศีลปฏิบัติธรรม การรู้จักประมาณตน การยึดหลักจารีต และการวางแบบแผนพฤติกรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การติดตามและประเมินการส่งเสริมค่านิยมของคนไทย. กรุงเทพฯ: เจริญผลกราฟฟิค.
ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2567). วัฒนธรรมอีสาน. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2567, จาก http://www.isan.clubs.chula.ac.th/th/
บุญเลิศ วิวรรณ์. (2015). “วัฒนธรรมอีสานในนิยายเรื่องครูบ้านนอก: จากวิถีชีวิตดั้งเดิมสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน.Journal of Korean Association of Thai Studies, 22(1), 1-34.
ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2560). ประเพณีประดิษฐ์ในชุมชนอีสานลุ่มน้ำโขง. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ประภาศรี สีหอำไพ. (2550). พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ). (2480). เรื่องวัฒนธรรม. พระนคร: โรงพิมพ์ภักดีประดิษฐ์.
พิพัฒน์ ประเสริฐสังข์. (2567). อัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมอีสานในเอกสารใบลานเรื่องจันทคาต. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2567, จาก http://https://isancenter.msu.ac.th/fulltext/ARS/ARS12202.pdf
ภัทรลดา ทองเถาว์ และ สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2563). บทบาทของความเชื่อเรื่องผีต่อสังคมอีสาน : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. 15(2), 221-236.
ภาวิณี พนมวัน ณ อยุธยา. (2564). ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่องสั้นหนังสือวันเด็กแห่งชาติ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(26), 77–89.
สวิง บุญเจิม. (2563). มรดกอีสาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุบลราชธานี: มรดกอีสาน.
สุรเชษฐ์ คูหาเลิศ และ อรอุษา สุวรรณประเทศ. (2566). การรักษาโรคด้วยพิธีกรรมการสู่ขวัญ: ความหมาย คุณค่า และตัวตนของคนไทยภาคเหนือและอีสาน. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(3), 62-81.
สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2557). ประวัติศาสตร์อีสาน. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุษาวดี วรรณประภา. (2554). คำสอนในวรรณกรรมอีสานเรื่อง สร้อยสายคำ. มหาสารคาม: สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.