รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรมระดับ 4 – 5 ดาวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ลดาวัลย์ รัตนไชยดำรง
ประพล เปรมทองสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยการทำงาน บุคลิกภาพแบบเชื่ออำนาจควบคุม ความเครียดในการทำงานและการคงอยู่ของพนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรมระดับ 4 – 5 ดาวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการทำงานและบุคลิกภาพแบบเชื่ออำนาจควบคุมที่มีต่อความเครียดในการทำงานของพนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรมระดับ 4 – 5 ดาวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความเครียดการในทำงานที่มีต่อการคงอยู่ของพนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรมระดับ 4 – 5 ดาวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดปัจจัยการทำงาน บุคลิกภาพแบบเชื่ออำนาจควบคุม ความเครียดในการทำงาน และการคงอยู่ในงาน พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริการส่วนหน้าแบ่งเป็น 7 อำเภอ ได้แก่ หัวหิน ปราณบุรี สามร้อยยอด กุยบุรี อำเภอเมือง ทับสะแก
บางสะพาน บางสะพานน้อย จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์  วิเคราะห์ข้อมูลและอธิบายผลด้วย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการทำงาน บุคลิกภาพแบบเชื่ออำนาจควบคุม ความเครียดในการทำงาน การคงอยู่ในงาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 3.44, 3.25, 2.89 และ 2.80 ตามลำดับ 2) ปัจจัยการทำงานและบุคลิกภาพแบบเชื่ออำนาจควบคุมมีอิทธิพลต่อความเครียดในการทำงานของพนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรมระดับ 4 – 5 ดาว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 และ 0.05 ตามลำดับ 3) ความเครียดในการทำงานมีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงานของพนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรมระดับ 4 - 5 ดาว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ผู้บริหารองค์กร หัวหน้างาน และฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล สามารถนำงานวิจัยนี้ไปพัฒนาและเสริมสร้างความสุขเพื่อรักษาบุคลากรให้คงอยู่ในองค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุลีพร ลักขณาพิพัฒน์ และคณะ. (2567). สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานเทศบาลตำบลวังน้ำซับอำเภอศรีประจันต์จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารบริหารธุรกิจ ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(1), 1-13.

ฐิตารีย์ ภูฆัง, นิตยา เพ็ญศิรินภา และ พรทิพย์ กีระพงษ์. (2565). บรรยากาศองค์การ ความเหนื่อยล้าและการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพ ในเครือโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี, 5(2), 79-91.

ณิชกานต์ ทองทวี และ ธัญนันท์ บุญอยู่. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในบทบาทและการคงอยู่ของพนักงานธุรกิจคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 16(1), 83-96.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2559). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีต่อความตั้งใจคงอยู่ในงาน ผ่านความผูกพันในอาชีพของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 6(1), 114-132.

ทวินานันญ์ พุ่มพิพัฒน์, ประยงค์ มีใจซื่อ และ นรพล จินันท์เดช. (2564). ผลกระทบของความผูกพันองค์การและบุพปัจจัยต่อการคงอยู่ ของแรงงานชาวเมียนมาในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(47), 141-158.

ปนัดดา ตรีเวทย์ศีล และ ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในงานของพนักงานโรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพ รัชดา. วารสารศิลปศาสตรปริทัศน์, 18(1), 65-84.

ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2555). ที่มาของความเครียดในการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2567, จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/piyanan/2012/01/18/entry-1

ประภัสรวี สุกใส และ ชาตยา นิลพลับ. (2565). คุณลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทางานที่ส่งผลต่อความเครียดในการทำงาน : กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 5(1), 112-129.

ศิริลักษณ์ สุธรรม และ ฐิติมา ไชยะกุล. (2563). อิทธิพลของปัจจัยในการทำงานต่อความเครียดในการทำงานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมอุสาหกรรมแหลมฉบัง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 16(2), 78-95.

สุภาพร จันทะกี, อรนันท์ กลันทปุระ และ ลลิตา นิพิฐประศาสน์ สุนทรวิภาต. (2564). ปัจจัยด้านการทำงานกับผลที่มีต่อความเครียดของผู้ปฏิบัติงานสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 13-24.

Alnaqbi, W. (2011). The Relationship Between Human Resource Practices and Employee Retention in Public Organizations: An Exploratory Study Conducted in The United Arab Emirates. Edith Cowan University. Retrieved December 27, 2023, from https://ro.ecu. edu.au/theses/424

Bolboaca, S.D., & Jantschi, I. (2006). Pearson versus Spearman, Kendall’s Tau Correlation Analysis on Structure Activity Relationships of Biologic Active Compounds. Leonardo Journal of Science, 9, 179-200.

Brown, W. B., & Moberg, D. J. (1980). Organization Theory and Management: A Macro Approach. New York: John Wiley and Sons.

Cochran, J., Goldhaber, M., Aller, R. C., Rosenfeld, J., Martens, C., & Berner, R. (1977). Sulfate Reduction, Diffusion, and Bioturbation in Long Island Sound Sediments; Report of the FOAM Group. American Journal of Science, 277(3), 193-237.

Cooper, C. L., Sloan, S. J., & Williams, S. (1988). Occupational Stress Indicator: Management Guide. Great Britain: NFER.

Dibble, S. (1999). Keeping Your Valuable Employees: Retention Strategies for Your Organization's Most Important Resource. New Jersey: John Wiley & Sons.

Kaaria, A. G., & Samba, S. M. (2024). Locus of Control and the Role of Leadership on Employee Personality in Pharmaceutical Industry in Kenya. East African Journal of Interdisciplinary Studies, 7(1), 119-138.

Kline, R. B. (2015). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York: Guildford Press.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.

Rokeach, M., & Parker, S. (1970). Values as Social Indicators of Poverty and Race Relations in America. The Annals of the American Academy of Political and Social Science, 388(1), 97-111.

Rotter, J. B., Chance, J. E., & Phares, E. J. (1972). Application of a Social Learning Theory of Personality. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Schultz, P. D., & Schultz, E. S. (2002). Psychology & Work. (8th ed.). USA: Von Hoffman Press.

Padmanabhan, S. (2021). The Impact of Locus of Control on Workplace Stress and Job Satisfaction: A Pilot Study on Private-Sector Employees. Current Research in Behavioral Sciences, 2, 100026.

Tsutsumi, A., & Kawakami, N. (2004). A Review of Empirical Studies on the Model of Effort-Reward Imbalance at work: Reducing Occupational Stress by Implementing a New Theory. Social Science & Medicine, 59(11), 2335-2359.

Wen, B., Zhou, X., Hu, Y., & Zhang, X. (2020). Role Stress and Turnover Intention of Front-Line Hotel Employees: The Roles of Burnout and Service Climate. Frontiers in Psychology, 11, 1-13.

Yuan, K. H., Wu, R., & Bentler, P. M. (2011). Ridge Structural Equation Modeling with Correlation Matrices for Ordinal and Continuous Data. The British Journal of Mathematical and Statistical Psychology, 64(1), 107-133.