วิเคราะห์กสิณ 10 เป็นบาทฐานในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากสิณ 10 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ 2) เพื่อวิเคราะห์กสิณ 10 เป็นบาทฐานในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร แล้วเขียนบรรยายเชิงวิเคราะห์พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. กสิณ คือ วัตถุหรือสิ่งที่ใช้จูงใจ 10 ชนิด ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ใจเข้าไปเพ่งอยู่ในวัตถุหรือสิ่งนั้นๆ สำหรับใช้เป็นเครื่องหน่วงแห่งจิต ซึ่งทำให้คุม ใจได้มั่น ทำให้จิตไม่ฟุ้งซ่านซัดส่าย สงบระงับลงจากกิเลส 2. กสิณ 10 เป็นบาทฐานในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา คือ ผู้เจริญกสิณเข้าฌาน ออกจากองค์ฌานแล้วยกองค์ฌานที่ปรากฏชัดหรือนำสภาพธรรมที่ประกอบกับฌานที่ปรากฏชัดในขณะปัจจุบัน เพื่อในการเจริญวิปัสสนาญาณ บรรลุ มรรค ผล นิพพาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จรูญ วรรณกสิณานนท์. (2545). การเพ่งกสิณ : วิธีฝึกปฏิบัติกรรมฐานที่จิตเป็นสมาธิเร็ว. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พุทธลีลา.
พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร จิตวณฺโณ). (2549). การพัฒนาจิต. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
พระพงศ์สิทธิ์ โพธิ์เพชรเล็บ และ วิโรจน์ คุ้มครอง. (2565). กสิณ 10 กับการบรรลุธรรมในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 517-527.
พระพุทธโฆสเถระ. (2553). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). (ผู้แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
พระสัทธัมมโชติกะ. (2536). ธัมมาจริยะ ปุจฉาวิสัชนาโชติกะ หลักสูตร อภิธรรมกถิกะ ภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนกิจพาฌิชย์.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2548). วิปัสสนานัย เล่ม 1. นนทบุรี: ไทยร่มเกล้า.
พระอริยคุณาธาร (ปุสฺโส เส็ง ). (2555). ทิพยอำนาจ. (พิมครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: มหามงกุฎราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.