ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อวัดสุวรรณารามราชวรวิหารในการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ

Main Article Content

กิตติธร มะโน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อวัดสุวรรณาราม
ราชวรวิหาร ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อวัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ จำแนกตามตัวแปรอิสระ  และ 3)  เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธต่อวัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวภายในวัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 รวมจำนวน 3,500 คน ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ที่สร้างขึ้นมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น 0.946 ผู้วิจัยเป็นผู้แจกแบบสอบถาม และรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองทุกฉบับ เมื่อตรวจสอบข้อมูลแบบสอบถามมีความเรียบร้อยสมบูรณ์แล้ว จึงวิเคราะห์ สรุปข้อมูลลงตารางประกอบการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวของวัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยมีอายุส่วนใหญ่ต่ำกว่า 30 ปี มีระดับการศึกษาส่วนใหญ่ปริญญาตรี และมีอาชีพส่วนใหญ่ รับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ นักท่องเที่ยวมีความเห็นต่อวัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ โดยนักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นว่าวัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร มีการจัดการอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ การให้บริการ ด้านพุทธศิลป์ ด้านความสะดวกสบายในการท่องเที่ยว และด้านแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสารประโยชน์  นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อวัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ด้านแนวทางในการพัฒนาจิตใจและปัญญา เห็นว่า ได้รับความรู้ทางประวัติศาสตร์ของวัดเพิ่มขึ้น ด้านแนวทางในการดำเนินชีวิต เห็นว่า ดำเนินชีวิตด้วยความมีสติ ทำความดีละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ผลที่ได้รับจากการเดินทางมาท่องเที่ยว เห็นว่า ทำให้มีความมั่นใจในการดำเนินชีวิตมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัณรงค์ ศรีรักษ์. (2563). การวิเคราะห์อัตลักษณ์ชุมชนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชนวัฒนธรรมไทย-ยวน ลาวครั่ง อําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 7(1), 70-81.

ธงชัย สันติวงษ์. (2541). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ธันย์นิชา เกียรติทับทิว เลิศนรเศรษฐ์. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตลาดน้ำทุ่งบัวแดง ณ บางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 7(2), 54-69.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ เพ็ญศิริ ศรีคําภา. (2557) การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ปรเมษฐ์ บุญนําศิริกิจ และ สุดสันต์ สุทธิพิศาล. (2562). วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระครูสังฆรักษ์มุนินทร์ มุนินฺทโร, ประเสริฐ ธิลาว และ พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2565). การพัฒนาการบริหารจัดการท่องเที่ยววิถีพุทธของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ ปริทรรศน์, 11(1), 334-347.

มนชนก จุลสิกขี. (2562). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา วัดในพื้นที่ฝั่งธนบุรี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(2), 203-210.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2548). การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.

ศุภลักษณ์ อัครางกูร. (2551). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.