การบริหารงานโครงสร้างพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

พระมหาบุญเธือน เฮือน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานโครงสร้างพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการบริหารงาน ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์ทำงาน ต่างกัน และ 3) เพื่อเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการบริหารงาน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยแบบผสานวิธี ใช้แนวคิดและทฤษฎีการบริหารงานโครงสร้างพื้นฐานเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือในเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 399 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ หน้าที่ และประสบการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการบรรยายและสถิติเชิงอนุมานหรืออ้างอิง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า


1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานโครงสร้างพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก


2. ประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ รายได้ หน้าที่ และประสบการณ์ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ประชาชนที่มีการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05


3. เสนอแนะแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการบริหารงาน คือ ด้านถนนสาธารณะมีจำนวนมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2559). การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

โกเสก กุดตุ้ม, สามารถ อัยกร และ ชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2563). อิทธิพลของการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลต่อประสิทธิผลการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอนิคมน้ำอูน จังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(8), 159-168.

ณัฐิวุฒิ เปลี่ยนศรี. (2562). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี(วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนพงษ์ คงศิลป์ทรัพย์. (2562). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหาร ส่วนตำบลดงเดือย อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

นวลนภา จุลสุทธิ, กัสมา กาซ้อน, สิปราง เจริญผล และ พรชัย เจดามาน. (2567). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กรภาครัฐภายใต้ยุค VUCA. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 310 – 328.

พระครูสุชัยพัชรมงคล (วิษณุ ตปสมฺปนฺโน). (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(1), 371-381.

พระเมธาวินัยรส (สุเทพ พุทธจรรยา) และ สาลินี รักกตัญญ. (2566). การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 289-302.

พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540. (2540). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 62 ก หน้า 1-23 (31 ตุลาคม 2540).

พิรชัช พรมดี, ชาติชัย อุดมกิจมงคล และ สามารถ อัยกร. (2566). อิทธิพลของการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(3), 14-32.

สมยศ นาวีการ และ ผุสดี รุมาคม. (2522). การบริหารธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.