แนวทางพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4

Main Article Content

ศศิวิมล จันทสุข
บรรจบ บุญจันทร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของโรงเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของโรงเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เนื้อหา          


ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านวิชาการ รองลงมา คือ ด้านสังคม ด้านบริหารจัดการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านกายภาพ (2) การเปรียบเทียบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันและเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจำนวน 1 ด้าน คือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านกายภาพ (3) แนวทางพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของโรงเรียน มอบหมายงานให้เหมาะสมกับความสามารถของบุคลากร ใช้ศาสตร์และศิลป์ ในการบริหารงานและมีการสื่อสารกับบุคลากรที่ชัดเจน มีการประชุมวางแผนการจัดการศึกษาและการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความถนัดและความสนใจของผู้เรียน บุคลากรปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดี มีเหตุผลและยึดหลักประชาธิปไตย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งกนก กิณเรศ. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(6), 165-178.

กิตติยา โพธิสาเกตุ. (2561). การพัฒนาแนวทางการจัดสภาพการเรียนรู้ภายในสถานศึกษาเอกชน สังกัดอัครสังฆมณฑลท่าแร่ หนองแสง. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(2), 54-62.

จิตตานันท์ สุพรมอินทร์. (2560). การพัฒนาแนวทางการจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(67), 99-100.

ธเนศ ขำเกิด. (2553). การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียน. วารสารวิทยาจารย์, 88(2), 18-20.

ศราวุธ บุญปลอด, สุมาลี ศรีพุทธรินทร์ และจารุวรรณ เขียวน้ำชุม. (2563). การพัฒนาแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 11(3), 17-27.

สาคร มหาหิงค์. (2559). การบริหารแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 4(3), 574-589.

สุรกิจ ปรางสร. (2557). รูปแบบการเรียนการสอนด้วยเว็บเควสท์โดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 5(2), 24-33.

อภิบาล สุวรรณโคตร์ และ สมหญิง จันทรุไทย. (2562). การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาหนองบุญมาก 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(7), 74-86.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. นครราชสีมา: กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 4. นครราชสีมา: กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566–2570 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. นครราชสีมา: กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Richardson, C. & Mishra, P. (2018). Learning Environments That Support Student Creativity: Developing The SCALE. Thinking Skills and Creativity, 27(3), 45-54.