สุรากลั่นชุมชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดน่าน

Main Article Content

ภูวนารถ ปาปวน
สุรชัย กังวล
นิโรจน์ สินณรงค์
กฤตวิทย์ อัจฉริยะพานิชกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ประกอบการสุรากลั่นชุมชน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการประกอบการสุรากลั่นชุมชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากเอกสารหลักฐาน การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากกลุ่มผู้ประกอบการจำนวน 4 ราย และการสนทนากลุ่ม และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์เชิงบรรยาย
ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารจัดการกลุ่มผู้ประกอบการสุรากลั่นชุมชน มีการจดทะเบียนในรูปแบบ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร องค์กรเกษตรกร ห้างหุ้นส่วนจำกัด และสหกรณ์  2) การบริหารจัดการด้านการผลิต ส่วนใหญ่จะใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก 3) การบริหารจัดการด้านการตลาด สุรากลั่นชุมชนของแต่ละกลุ่มจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายพบว่า มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ค่อนข้างหลากหลาย 4) การบริหารจัดการด้านการเงินและบัญชี ผู้ประกอบการสุรากลั่นชุมชนส่วนใหญ่ไม่มีการวางแผนทางการเงิน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของผู้ประกอบการสุรากลั่นชุมชน ส่วนใหญ่คือ ขาดการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ขาดแคลนสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถด้านการเงินและบัญชี แนวทางในการส่งเสริมการประกอบการสุรากลั่นชุมชน คือ ผู้ประกอบการสุรากลั่นชุมชนควรเร่งปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค พัฒนาความรู้ด้านการตลาด การเงินและบัญชี นอกจากนี้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนควรให้ความช่วยเหลือส่งเสริมและสนับสนุนสุรากลั่นชุมชน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น เพื่ออุตสาหกรรมสุรากลั่นชุมชนทำให้เศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็งและยั่งยืนตลอดไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญน์ชนิดาภา เมธีวรฉัตร และ อานนท์ เมธีวรฉัตร. (2566). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนของตำบลสร้อยทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารธรรมวัตร, 4(2), 29-41

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2531). ภูมิปัญญาแห่งอีสาน: รวมบทความอีสานคดีศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2560). วาทกรรมการพัฒนา : อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ธนพล สายยนต์. (2542). ความคิดเห็นต่อนโยบายสุราเสรี : กรณีศึกษาในเขตตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประภาพร แสงทอง. (2553). แนวทางการพัฒนาทางการตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน : กรณีศึกษา วิสาหกิจแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าเกาะยอ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, 3(1), 14-25.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2536). วัฒนธรรมกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2550). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ Dimond in business world.

สถาบันพัฒนาการเมือง. (2544). เหล้าพื้นบ้าน ภูมิปัญญาไทและสิทธิอันชอบธรรมของชาวบ้านกับการแก้ปัญหาความยากจน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สุพัฒน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และ คณะ. (2550). สุราพื้นบ้านกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดลำปางและลำพูน. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัครเจตน์ ชัยภูมิ. (2559). แนวคิดเศรษฐกิจชุมชนเหลียวหลัง แลหน้า นำพาเศรษฐกิจชุมชนสู่ทางรอด. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 5(2), 36-55.