การบริหารจัดการภาครัฐให้ทันสมัยสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ของจังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

มติชน ชูทับทิม
กมลพร กัลยาณมิตร
สถิตย์ นิยมญาติ
ชูชีพ เบียดนอก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการภาครัฐให้ทันสมัยสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีของจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการภาครัฐให้ทันสมัยสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีของจังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) เสนอแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐให้ทันสมัยสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารภาครัฐ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้บริหารภาคเอกชน และนักวิชาการ จำนวน 20 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปความแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า


1) สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการภาครัฐให้ทันสมัยสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีของจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่  มีการบูรณาการร่วมกัน  พัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ ๆ มาสนับสนุนการให้บริการประชาชน พัฒนาศักยภาพบุคลากร เสริมสร้างการเปิดข้อมูลต่อสาธารณะให้เป็นวัฒนธรรมขององค์การ และเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การให้มีความยืดหยุ่น  กระตุ้นให้บุคลากรมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น


2) ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการภาครัฐให้ทันสมัยสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีของจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า บุคลากรภาครัฐยังขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง และขาดทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐยังไม่สามารถเชื่อมโยงให้เป็นเอกภาพ  การมีงบประมาณที่จำกัด ระบบและวัฒนธรรมของการทำงานของภาครัฐไม่เอื้อต่อการบริหารจัดการภาครัฐให้ทันสมัย  และผู้บริหารบางส่วนยังไม่เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี


3) แนวทางการบริหารจัดการภาครัฐให้ทันสมัยสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีของจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า ควรบูรณาการทำงานร่วมกันให้มากขึ้น พัฒนาศักยภาพของบุคลากรภาครัฐในด้านเทคโนโลยี ผู้บริหารองค์กรต้องสร้างบรรยากาศและสภาพที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรดิจิทัล มีการจัดหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ปรับปรุงการทำงาน  รวมทั้งปรับปรุงการให้บริการให้เป็นแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). พล.อ.อ.ประจินฯ และ ดร.พิเชฐฯ ร่วมสัมมนาแผนแม่บท การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ. สืบค้นจาก https://goo.gl/F8LLFX.

จารุวรรณ ประวันเน. (2563). กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ : กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 13(3), 267 – 284.

ชัยรัตน์ โตศิลา. (2559). กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง : บทสำรวจความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาของไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2), 181-191.

ดวงสมร สุทธิวงศ์กูล. (2564). การพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 13(1), 197-216.

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). รู้จัก “นวัตกรรม” คืออะไร มีกี่ประเภท ประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง?. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2566, จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2225171

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2563). เมืองอัจฉริยะ: ความหมายและข้อควรพิจารณาสำหรับการพัฒนาเมือง. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 7(1), 3-20.

ปรีดาพร อารักษ์สมบูรณ์ และณัฐพล บัวเปลี่ยนสี. (2565). การพัฒนาศักยภาพทักษะด้านดิจิทัลของทรัพยากรมนุษย์สำหรับองค์กรภาครัฐสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะของจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(2), 239-255.

ปาริชาติ คุณปลื้ม. (2566). การบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 20(1), 99-108.

ปิยะนุช เงินคล้าย. (2562). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภาฝัน จิตต์มิตรภาพ, ฤๅเดช เกิดวิชัย, พรกุล สุขสด และ ดวงกมล จันทรรัตน์มณี. (2565). ปัจจัยขับเคลื่อนความสําาเร็จในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จังหวัดภูเก็ต. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(1), 188-202.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2564). การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล.

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัครวินท์ ศาสนพิทักษ์ และ สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์. (2564). การสังเคราะห์บทบาทเมืองอัจฉริยะที่มีผลต่อการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม : การสังเคราะห์อภิมาน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

อารยะ ปรีชาเมตตา. (2561). เมืองอัจฉริยะกับความสามารถในการครอบครองที่อยู่อาศัย. สืบค้นจากhttp://www.bangkokbiznews.com/blog/ detail/642391.

Myeong, S., Jung, Y., & Lee, K. (2018). A Study on Determinant Factors in Smart City Development: An Analytic Hierarchy Process Analysis. Sustainability, 10(2606), 1-17.

Hersey, P., Blanchard, K. H., & Johnson, D. E. (2001). Management of Organizational Behavior: Leading Human Resources. (8th ed.). New Jersey: Prentice Hall.