รูปแบบการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของวัยรุ่นไทยในอนาคต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน 2) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของวัยรุ่นไทยในอนาคต รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ กำหนดผู้เชี่ยวชาญเป็นอาจารย์ เจ้าหน้าที่/บุคลากร และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จำนวน 17 ท่าน และสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 ท่าน รวมเป็น 23 ท่าน โดยมีวิธีการในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์โดยใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิค QDAT Knowledge : 6’ C ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน มีลักษณะที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปตามความเข้าใจในการนำมาใช้ และในอนาคตจะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และมีแนวโน้มสำคัญต่อการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตประจำวันของคนในสังคมในรูปแบบต่าง ๆ 2) รูปแบบการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของวัยรุ่นไทยในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน วัยรุ่นส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้จากการใช้รูปแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ 3) รูปแบบการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของวัยรุ่นไทยในอนาคต สามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อวางแผน กำหนดนโยบาย กำหนดแนวทางการให้คำปรึกษาแนะนำ และกำหนดทิศทางของการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหรือการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิตพิสุทธิ์ บุปผาพันธ์, เปรมฤดี จิตรเกื้อกูล, ธัญลักษณ์ เมืองโคตร และตติยาภรณ์ ศิริทศักดากุล. (2566). อิทธิพลของภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการและความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 10(1), 55-71.
จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์, ขจร ฝ้ายเทศ, ดวงแก้ว เงินพูนทรัพย์ และ วัลลภา จันทรดี. (2560). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10(2), 16-31.
ณัฐกานต์ แก้วขำ และยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2564). บทบาทของอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ในภูมิทัศน์ของสื่อใหม่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารนิเทศศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 39(1), 107-120.
ณัฐวุฒิ เอี่ยมเนตร, สุวลังก์ วงศ์สุรวัฒน์, พระครูปลัดประวิทย์ ทรัพย์อุไรรัตน์, นภัทร์ แก้วนาค และ จิดาภา เร่งมีศรีสุข. (2567). นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมการบริหารจัดการองค์กร ภาครัฐและภาคเอกชนในยุคดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 291-302.
ธราธร บุ้งทอง, กมล เสวตสมบูรณ์ และละเอียด ศิลาน้อย. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรกับประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของบริษัทนำเที่ยวในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 7(22), 73-85.
นพวรรณ โลนุช และ กล้าหาญ ณ น่าน. (2565). บรรยากาศองค์การและกระบวนการสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 9(2), 82-96.
นภัทร์ แก้วนาค. (2563). องค์ความรู้การวิจัยอนาคต : ขอบข่ายรัฐประศาสน. อยุธยา: อยุธยาดีไซน์.
นิพัทธ์ กานตอัมพร และ วรรณวีร์ บุญคุ้ม. (2567). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้นำชุมชนสตรี. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 9(1), 140-153.
ปัญญา รุ่งเรือง. (2567). การสร้างคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนแผน การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 491 – 509.
พรทิพย์ ช่วยเพล, นันทยา คงประพันธ์ และ สุภาวดี เผือกฟัก. (2563). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(3), 543-556.
อมลณดา วีระหงษ์ และ สุมามาลย์ ปานคำ. (2567). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารภายในองค์กรของข้าราชการกองทัพอากาศ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 167 – 185.
อาณัติ รัตนถิรกุล, เจษฎา อิสเหาะ, สุชาดา บุญศรี และ ธงชัย อรัญชัย. (2567). การสร้างและถ่ายทอดเทคโนโลยีแพลตฟอร์มหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดมหาชน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (RUS MOOC). วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 6(1), 1-14.
อิทธิพัทธ์ โยธะพันธ์ และ ชูชาติ ศิริปัญจนะ. (2560). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 2(1), 14-23.
Adorjan, M. & Ricciardelli, R. (2019). Cyber – Risk and Youth: Digital Citizenship, Privacy, and Surveillance. Routledge: Taylor & Francis Group.
Cerretani, P. I., Iturrioz, E. B., & Garay, P. B. (2016). Use of Information and Communications Technology, Academic Performance and Psychosocial Distress in University Students. Computers in Human Behavior, 56, 119-126.
Cerretania, P., BernarasIturrioz, E., & Garay, P. B. (2016). Use of Information and Communications Technology, Academic. Computers in Human Behavior, 56(2), 119-126.
Pham, T. T. & Ho, J. C. (2015). The Effects of Product-Related, Personal-Related Factors and Attractiveness of Alternatives on Consumer Adoption. Technology in Society, 43, 159-172.
Rogers, E. M. & Shoemaker, F. (1978). Communication of Innovations: A Cross-Cultural Approach. New York: Free Press.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On The Use of Content Specialists in The Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor Onderwijsresearch, 2(2), 49–60.