การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นโดยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันตก

Main Article Content

อรรถวิท รักจำรูญ
กมลพร กัลยาณมิตร
สถิตย์ นิยมญาติ
ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นโดยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันตก 2) ประเมินปัญหาและอุปสรรคในการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 3) นำเสนอแนวทางในการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่  นักการเมือง  ข้าราชการ  นักวิชาการ และประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันตก 20 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปความเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า  


          1) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ต้องสร้างความรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน  กระแสความต้องการของประชาชนจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การผลักดันการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ต้องได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมือง และนักการเมือง โครงสร้างและระบบการบริหารราชการค่อนข้างซับซ้อน การปฏิรูปต้องกระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป  และต้องมีการแก้ไขระบบอุปถัมภ์


          2) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น คือ ความขัดแย้งระหว่างผู้ที่มีความเห็นต่างกัน  ขาดการสนับสนุนจากพรรคการเมือง มีความทับซ้อนในอำนาจหน้าที่  การหวงอำนาจของข้าราชการ และความกังวลของประชาชน  และ


          3) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ได้แก่ ควรกำหนดแนวทางการบริหารให้ชัดเจน รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง งบประมาณที่ชัดเจน  สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานราชการต่าง ๆ และสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ การตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง และบทบาทของประชาชนในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ เพียรพิทักษ์. (2566). การขับเคลื่อนความเป็นพลเมืองเข้มแข็งผ่านมุมมองการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 21(3), 22-39.

ชำนาญ จันทร์เรือง. (2566). กระจายอำนาจ เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/328794

ชุลีพร ขุนอินทร์. (2560). ผู้ว่าราชการจังหวัดกับการบริหารราชการแผ่นดินไทย. วารสารบัณฑิตสาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 15(1), 116-130.

ฒาลัศมา จุลเพชร. (2566).พัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นภายใต้รัฐราชการไทย. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(1), 309-322.

ณัฐวุฒิ เอี่ยมเนตร, สุวลังก์ วงศ์สุรวัฒน์, พระครูปลัดประวิทย์ ทรัพย์อุไรรัตน์, นภัทร์ แก้วนาค และ จิดาภา เร่งมีศรีสุข. (2567). นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมการบริหารจัดการองค์กร ภาครัฐและภาคเอกชนในยุคดิจิทัล, วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 291-302.

นวลนภา จุลสุทธิ, กัสมา กาซ้อน, สิปราง เจริญผล และ พรชัย เจดามาน. (2567). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กรภาครัฐภายใต้ยุค VUCA. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 310 – 328.

พระมหาศักรินทร์ ธมฺมาลโย และ พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2563). ปรัชญาการปกครองของฮั่นเฟยจื่อ. วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์, 3(2), 77-83.

ยุทธพร อิสรชัย. (2564). การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในการเมืองไทย ช่วง พ.ศ. 2547-2559. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 11(2), 150-167.

วัชชิรานนท์ ทองเทพ. (2565). เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. : คนต่างจังหวัดเคลื่อนไหวอยากมีผู้ว่าฯ มาจากการเลือกตั้ง. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-61561943

วิจิตร เกิดน้อย, ยุทธนา ปราณีต และ สุรพล สุยะพรหม. (2563). พฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไป

ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), 129-139.

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2564). หน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งและลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงสายงานบริหารงานปกครอง (ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด). สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566, จาก http://www.personnel.moi.go.th/recruitment/2564/2.JD..pdf

Creighton, J. L. (2005). The Public Participation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement. San Francisco: Jossey Bass Asis.

James, R. T. (2007). Political Participation in Communist China. Los Angeles: University of California Press.

Li, X. (2023). Thailand’s Domestic Political Turmoil in 1992 and Its Impact on ASEAN Integration: An Analysis of Key Events and Decisions. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 7(2), 269–282.