การบริหารเพื่อสาธารณประโยชน์ตามหลักพุทธธรรมของมูลนิธิหลวงพ่อพุทโธภาวนา วัดสามพราน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ปัญณวีย์ สกุลวนาการ
สถิตย์ นิยมญาติ
กมลพร กัลยาณมิตร
ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การบริหารเพื่อสาธารณประโยชน์ตามหลักพุทธธรรม 2) ประเมินปัญหาในการบริหารเพื่อสาธารณประโยชน์ตามหลักพุทธธรรม และ 3) เสนอแนะแนวทางการบริหารเพื่อสาธารณประโยชน์ตามหลักพุทธธรรมของมูลนิธิหลวงพ่อพุทโธภาวนา วัดสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ คณะกรรมการผู้บริหารมูลนิธิหลวงพ่อพุทโธภาวนา จำนวน  6 คน  ผู้ปฏิบัติงานของมูลนิธิหลวงพ่อพุทโธภาวนา จำนวน 8 คน  และประชาชนผู้บริจาคให้แก่มูลนิธิหลวงพ่อพุทโธภาวนา จำนวน 6 คน รวมจำนวน 20 คน ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปแบบพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า


1) ปัจจุบันสถานการณ์โลกและสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้มูลนิธิหลวงพ่อพุทโธภาวนาต้องนำหลักพุทธธรรม ได้แก่ หลักสังคหวัตถุ 4, พรหมวิหารธรรม 4, อิทธิบาท 4 และทศพิธราชธรรม 10 ประการ มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรในด้านการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคน การบังคับบัญชาสั่งการ และ การควบคุม  เพื่อให้มีการจัดการที่เหมาะสมตามทำนองคลองธรรมของสังคมและกฎหมาย เกิดภาพลักษณ์ที่ดีเป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน จนทำให้การดำเนินการของมูลนิธิได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลที่มีจิตศรัทธาในการบริจาคอยู่ตลอดมา


2) ปัญหาขาดแคลนเงินที่จะนำมาช่วยเหลือเด็กและเยาวชนให้ได้รับการศึกษาที่เหมาะสม  และการขาดความร่วมมือจากผู้คนในสังคมที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างจริงจัง  


3) การปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมองค์การที่อยู่ภายใต้หลักพุทธธรรมและกรอบศีลธรรมจะทำให้มูลนิธิดึงดูดประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับมูลนิธิมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2556). คู่มือการดำเนินการของมูลนิธิและสมาคม. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

กรุงเทพมหานคร. (2559). ความรู้เกี่ยวกับมูลนิธิ. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2567, จาก https://webportal.

bangkok.go.th/

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิช ชิ่ง.

ฐิติพร สะสม. (2563). การปรับใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาเพื่อการบริหารงานในสังคมปัจจุบัน. วารสารปัญญาปณิธาน, 5(1), 15-28.

ณัฏชนน ไพรรุณ. (2562). ประสิทธิภาพการระดมทุนขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร: กรณีศึกษาองค์กรศาสนาในประเทศไทย. วารสารพัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์, 13(2), 63-83.

ณัฐวุฒิ เอี่ยมเนตร, สุวลังก์ วงศ์สุรวัฒน์, พระครูปลัดประวิทย์ ทรัพย์อุไรรัตน์, นภัทร์ แก้วนาค และ จิดาภา เร่งมีศรีสุข. (2567). นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมการบริหารจัดการองค์กร ภาครัฐและภาคเอกชนในยุคดิจิทัล, วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 291-302.

นวลนภา จุลสุทธิ, กัสมา กาซ้อน, สิปราง เจริญผล และ พรชัย เจดามาน. (2567). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กรภาครัฐภายใต้ยุค VUCA. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 310 – 328.

นัฏวรรณ รุจิณรงค์. (2563). แนวทางในการพัฒนากฎหมายมูลนิธิเพื่อป้องกันการกระทำทุจริต(วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นิศา ชูโต. (2561). การวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นต์โพร จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พิมพ์ลภัส นัสบุสย์. (2565). การประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ อําเภอเมืองหนองคายจังหวัดหนองคาย. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 7(1), 586-595.

มลธิดา อุบลรัตน์. (2565). หลักอิทธิบาท 4 : เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้มีความสุข. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(2), 150-161.

สิรินทร์ กันยาวิริยะ, ชิสา กันยาวิริยะ และ เมธา หริมเทพาธิป(2565). การบริหารคนตามหลักพุทธธรรมสําหรับนักธุรกิจ. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(2), 240-249.

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี บุญเรือง และ พระอโณทัย กตปุญฺโญ (อุ่นเรือน). (2564). รัฐศาสตร์แนวพุทธว่าด้วยการปกครองตามหลักทศพิธราชธรรม. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(1), 233–242.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Fayol, F. (2004). General and Industrial Management. London: Pittman and Sons.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.