ประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสุรากลั่นชุมชนของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่น่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสุรากลั่นชุมชนของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่น่าน และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสุรากลั่นชุมชนของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่น่าน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล (DEA) และสมการถดถอยโทบิตที่มีการตัดตอนแบบพาแนล เพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ ตัวแปรปัจจัยนำเข้า ได้แก่ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ ขนาดพื้นที่รับผิดชอบ จำนวนผู้ประกอบการสุรากลั่นชุมชน จำนวนผู้ขออนุญาตขายสุรา ปริมาณการจำหน่ายแสตมป์สุรา ปริมาณการผลิต ตัวแปรผลผลิตได้แก่ ผลการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสุรากลั่นชุมชน โดยใช้ข้อมูลจากหน่วยจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่น่าน ทั้ง 3 สาขา คือ สาขาเมือง สาขาปัว และสาขาเวียงสา ระหว่างปีงบประมาณ 2561 – 2566
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสุรากลั่นชุมชนของทั้ง 3 สาขาอยู่ในระดับสูงมาก โดยสาขาเวียงสามีประสิทธิภาพสูงสุด รองลงมาคือสาขาปัวและสาขาเมืองน่าน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพด้านเทคนิคและด้านขนาด พบว่ามีประสิทธิภาพในระดับสูงมาก ในปีงบประมาณ 2566 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.995 และ 0.949 แสดงถึงการมีเทคนิคและการบริหารจัดการที่ดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสุรากลั่นชุมชนของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่น่านคือจำนวนผู้ประกอบการผลิตสุรา โดยสรุปแล้ว การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสุรากลั่นชุมชนในพื้นที่จังหวัดน่านมีประสิทธิภาพในระดับสูงและจำนวนผู้ประกอบการผลิตสุราเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสรรพสามิต. (2566). รายงานประจำปี 2566. กรุงเทพฯ: กรมสรรพสามิต.
จิรวุฒิ ลิปิพันธ์, ธานี วรภัทร์, สุภัชลี เทพหัสดินฯ และ วิเชษฐ์ สินประสิทธิ์กุล. (2566). ภาพรวมกฎหมายควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 5(2), 16-33.
จิรศักดิ์ รอดจันทร์. (2563). ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแนวปฏิบัติในการบริหารงานจัดเก็บภาษี. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์, 6(1), 198 - 212.
ปภังกรนิษฐ์ วงษ์ธัญญกรณ์. (2563). ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามหลักอิทธิบาท 4 ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่พิจิตร สาขาบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจยวิชาการ, 3(1), 85-96.
วรัญญา ถิ่นสำราญ. (2562). คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่กาญจนบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(2), 281-296.
วันวสา วิโรจนารมย์, พิมพิมล แก้วมณี, กันตพร ช่วงชิด และ ศิวรัตน์ กุศล. (2562). ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีการรับมรดก: กรณีศึกษาสำนักงานสรรพากร พื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 8(1), 130-139.
สุรศักดิ์ โตประสี และ จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ. (2561). ประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีของเทศบาลบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(2), 161-169.
อัจฉราภรณ์ สอนพรม และ จินตนา สมสวัสดิ์. (2559). การศึกษาประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสรรพากรรายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยแบบจำลองการวิเคราะห์ประสิทธิภาพเปรียบเทียบภายในกลุ่ม. MBA-KKU Journal, 9(2), 318-333.
Arhin, K., Frimpong, A. O., Boso, R., & Acheampong, K. (2023). A Double Bootstrap Data Envelopment Analysis Model for Evaluating Malaria Spending Efficiency in Sub-Saharan Africa. Healthcare Analytics, 3, 100137.
Chaitip, P., Chaiboonsri, C., & Inluang, F. (2014). The Production of Thailand's Sugarcane: Using Panel Data Envelopment Analysis (Panel DEA) Based Decision on Bootstrapping Method. Procedia Economics and Finance, 14, 120-127.
Farrell, M. (1957). The Measurement of Productive Efficiency. Journal of the Royal Statistical Society, 120(3), 253-290.
Ji, Y., & Lee, C. (2010). Data Envelopment Analysis. Stata Journal,10(2), 267-280.