การพัฒนาชุดการฝึกอบรมกลวิธีการทางสถิติสำหรับงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนา

Main Article Content

วุฒิชัย อัตถาพงศ์
พระเทพวัชรโกศล เทพธีรวงศ์ ไกรวาสไชยวงษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับพัฒนาชุดการฝึกอบรมกลวิธีการทางสถิติสำหรับงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนา 2) เพื่อพัฒนาชุดการฝึกอบรมกลวิธีการทางสถิติสำหรับงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของชุดการฝึกอบรมกลวิธีการทางสถิติสำหรับงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนา รูปแบบการวิจัยเป็นงานวิจัยและพัฒนา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจงจากนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีการศึกษา 2565 จำนวน 28 รูป เครื่องมือวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการวิจัย และ 2) แบบประเมินคุณภาพชุดการฝึกอบรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการวิจัย ค่าประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผล  ผลการวิจัยพบว่า


ผลวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 เนื้อหาที่พิจารณาจากค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการวิจัย สามารถกำหนดขอบเขตเนื้อหาสำหรับพัฒนาด้านทักษะมากที่สุด รองลงมาคือด้านความรู้ ด้านการแปลข้อมูล และด้านเจตคติตามลำดับ ส่วนการประเมินเนื้อหาโดยรวม พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 4.68)


ผลวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 2 การพัฒนาชุดการฝึกอบรมฯ 1) เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่ามีขอบเขตที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการวิจัย 2) การพัฒนาชุดการฝึกอบรมฯ พบว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมกับระดับความรู้พื้นฐานของผู้อบรมทั้งในด้านการนำเสนอเนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ และกิจกรรมการวัดผลและประเมินผล และ 3) การทดลองใช้ พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 63.54, 100.25 และ 106.89 ตามลำดับ ส่วนการประเมินความพึงพอใจ พบว่าประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด คือ ความเข้าใจวิธีระบุสมมติฐาน ความเข้าใจวิธีจัดการข้อมูล และการเลือกตัวแปรในการวิจัย ตามลำดับ ส่วนประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจต่ำที่สุด คือ ความเข้าใจวิธีการสรุปองค์ความรู้จากผลการวิเคราะห์สถิติ


ผลวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 3 การศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลชุดการฝึกอบรมฯ พบว่ามีค่าการทดสอบประสิทธิภาพเชิงกระบวนการ (E1) ที่ระดับ 80.02 และค่าประสิทธิภาพเชิงผลลัพธ์ (E2) ที่ระดับ 85.51 ส่วนค่าการทดสอบประสิทธิผล พบว่า มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.71

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐสุดา สุวรรณมา และ อภิชา แดงจำรูญ. (2565). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book) เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียนศรียาภัย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(5), 270-280.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจนา ชำนาญกุล และ ชัยวัฒน์ วารี. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์วิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1 (1), 39–45.

พรวิมล เสาะใส. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านวิชาภาษาไทยด้วยนวัตกรรม Smart Learning เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขุนน้ำคับ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ สื่อนวัตกรรมและการศึกษาเชิงสร้างสรรค์, 3(2), 12-26.

พิจิตรา ธงพานิช, (2560). วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2557). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท.

มนตรี แย้มกสิการ. (2551). เกณฑ์ประสิทธิภาพในงานวิจัยและพัฒนาสื่อการสอน: ความแตกต่าง 90/90 Standard และ E1/E2. วารสารศึกษาศาสตร์, 19(1), 1-16.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2566). นโยบายบริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สืบค้น 2 สิงหาคม 2566 จาก https://www.mcu.ac.th/directory_uploads/administrator/file_upload / 202211 21210 523_804BE9DC-7841-428F-8150-9F0081F21AC4.pdf.

เมธา พงศ์ศาสตร์. (2549). การสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร. (2566). เอกสารประกอบการสอน การใช้สถิติเพื่อการวิจัย : บทนำ. สืบค้น 2 สิงหาคม 2566จาก http://hsmi2.psu.ac.th/edu/upload/forum/1-2_introduction_to_statistics.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R., (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. New York: David McKay.

Clark, D. (2023). Blended Learning. Retrieved August 25, 2023, from: https://www. scribd.com/ document/ 84278560/Clark-D-Blended-Learning.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Gagne, R. M., & Briggs, L. J., (1974). The Principles of Instruction Design. New York: Holt.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.

Lane, K. R., Crofton, C., & Hall, G. J. (1983). Assessing Needs for School District Allocation of Federal Funds. In B. R. Witkin (Ed.). Assessing Needs in Education and Social Program. San Francisco: Jossey-Bass Publishers.

Lawshe, C. H. (1975). A Qualitative Approach to Content Validity. Personnel Psychology, 28(4), 563-575.

Posner, G. J. (1992). Analyzing the Curriculum. New York: McGraw-Hill.

Witkin, B.R. & Altschuld, J.W., (1995). Planning and Conducting Needs Assessment: A Practical Guide. California: Sage Publications.