การบูรณาการหลักพุทธธรรมและศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านศรีไคออก ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา สาเหตุ และอุปสรรคในชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านศรีไคออก ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านศรีไคออก ตามหลักพุทธธรรม บูรณาการด้วยศาสตร์พระราชา และ 3) เพื่อเสนอกระบวนการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านศรีไคออก ตามหลักพุทธบูรณาการ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยคือบ้านศรีไคออก ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือเจ้าอาวาส ประธานชุมชน ประธานกลุ่มต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และประชาชนทั่วไป จำนวน 30 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและประเด็นการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา สาเหตุ และอุปสรรคในชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านศรีไคออก ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสาธารณสุข และด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
2. องค์ประกอบการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านศรีไคออก ตามหลักพุทธธรรม บูรณาการด้วยศาสตร์พระราชา ได้แก่ ศาสตร์พระราชา ประกอบด้วย หลักการทรงงาน ด้านการพัฒนาคือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านความประพฤติคือ ความซื่อสัตย์สุจริต การทำงานอย่างมีความสุข และความเพียร ด้านการครองตน คือประหยัด เรียบง่าย การพึ่งตนเอง พออยู่พอกิน และด้านการอยู่ร่วมกัน คือการมีส่วนร่วม มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก ขาดทุนคือกำไร และรู้ รัก สามัคคี
3. กระบวนการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านศรีโคออก มีขั้นตอนดังนี้คือ 1) การศึกษาสภาพปัญหา 2) การวางแผนโครงการ 3) การดำเนินงานโครงการ 4) การติดตามประเมินผล และ 5) การสรุปผลการดำเนินงาน
องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ การบูรณาการหลักพุทธธรรมและศาสตร์พระราชาในการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย 1) ศึกษาสภาพปัญหาของชุมชน 2) กำหนดแผนการพัฒนาชุมชน 3) ดำเนินงานโครงการด้วยการบูรณาการหลักพุทธธรรมและศาสตร์พระราชา 4) ติดตามประเมินผลโครงการ และ 5) สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธันยชนก ปะวะละ, นุจรี ใจประนบ และ ทนงศักดิ์ ปัดสินธุ์. (2562). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาทองถิ่นตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตำบลหนองเม็ก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ประจักษ์ ขุราศี. (2561). การบูรณาการหลักธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนในสังคมไทยให้เข้มแข็ง. วารสารวิจัย ราชภัฏกรุงเก่า, 5(3), 113-122.
พระมหาวีระศักดิ์ แสงพงษ์. (2562). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับเกษตรทฤษฎีใหม่ของศาสตร์พระราชา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6 (8), 3734-3787.
พระรัตนมุนี (ปุณณมี วิสารโท). (2561). การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาสังคม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 8-20.
พระสุริยา ไชยประเสริฐ, ภาสกร เรืองรอง และ พิชญาภา ยวงสร้อย. (2567). การเรียนการสอนแบบเชิงรุกด้วยกิจกรรม สุ จิ ปุ ลิ ร่วมกับสื่อจักรวาลนฤมิต สำหรับนักเรียนธรรมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 541 - 553
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มานพ นักการเรียน และ บานชื่น นักการเรียน. (2562). สถาบันการศึกษาตามแนวทางพระพุทธศาสนา. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 20(2), 214-226.
วิชัย ตันศิริ. (2547). โฉมหน้าการศึกษาไทยในอนาคต : แนวคิดสู่การปฏิรูปในพระราชบัญญัติการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาพรรณ พินลา และ วิภาดา พินลา. (2561). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิเศษ แสงกาญจนวนิช. (2565). การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเป็นองค์รวมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(5), 2388-2401.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ดแอนด์โฮม.
สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน. (2562). การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความสุขให้ชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน.
องค์การบริหารส่วนตำบลป่ามะคาบ. (2567). หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นจากhttps://www.pamakhap.go.th/detail Rev2.php?page=4&id=169.
อุทัย ดุลยเกษม และ อรศรี งามวิทยาพงศ์. (2540). ระบบการศึกษากับชุมชน:กรอบความคิดและข้อเสนอเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: แปลน พริ้นติ้ง.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy