การใช้สัปปายะ 7 เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชน วัดพิชยญาติการาม เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักสัปปายะ 7 เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนวัดพิชยญาติการาม เขตคลองสาน แขวงสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการศึกษาสัปปายะ 7 ของพุทธศาสนิกชนวัดพิชยญาติการาม เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร จำแนกตัวแปรอิสระ และ 3) เพื่อศึกษาแนวคิดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักสัปปายะ 7 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรมที่มาในวันเสาร์ – อาทิตย์ ณ วัดพิชยญาติการาม เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร จำนวน 500 คน โดยผู้วิจัยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และ มอร์แกน ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.986 วิเคราะห์สรุปข้อมูลลงตารางประกอบการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้สัปปายะ 7 มีความคิดเห็นโดยรวมอย่ในระดับมาก วัดพิชยญาติการาม มีความเป็นสัปปายะ 7 เพื่อส่งเสริมผู้ที่มาปฏิบัติธรรม 2) ผลการเปรียบเทียบสัปปายะ 7 ของพุทธศาสนิกชนวัดพิชยญาติการาม เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร พบว่า โดยรวม ไม่แตกต่างกันไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3)แนวทางการพัฒนาสถานปฏิบัติธรรมของวัดพิชยญาติการาม เป็นสัปปายะต่อผู้มาปฏิบัติธรรม คือ มีอาคารสถานที่พร้อมใช้งาน รักษาระดับคุณภาพของสำนักปฏิบัติธรรมของวัด ทำแบบสอบถามของผู้ปฏิบัติธรรม เพิ่มพระวิปัสสนาจารย์ให้มากขึ้น ให้พระวิปัสสนาจารย์มีการสอนตามแนวทางมหาสติปัฏฐานสูตร เพื่อเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้มาปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดี ในส่วนที่ชำรุดก็ได้มีการซ่อมแซมปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ก็จะทำให้เป็นที่สัปปายะต่อผู้ที่เข้ามาปฏิบัติธรรม ทำให้มีการพัฒนาทางด้านบริการตามมาตรฐานให้ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ที่มาปฏิบัติธรรมนั้น ได้รับความสะดวกสบายสมควรแก่การปฏิบัติธรรมสามารถเข้าใจในการปฏิบัติ และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี และ นภาเดช กาญจนะ. (2540). พระป่า ปรัชญาธรรมของพระป่าสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2544). ภาษาธรรม. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.