การประยุกต์ใช้พรหมวิหารธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหารธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี พบว่า ด้านเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการดูแลพระสงฆ์ภายในวัดอย่างทั่วถึงอย่างเป็นธรรมคือ มีการสนับสนุนในการจัดสวัสดิการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่พระสงฆ์ภายในวัด มีการออกกฎระเบียบ ในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะเพื่อให้เกิดความสงบสุขของคณะสงฆ์ในวัด ผู้ปกครองมีการดูแลด้านศาสนสถานภายในวัดให้เกิดความสะดวก และมีการชมเชยพระสงฆ์ที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ/กิจวัตร
การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหารธรรมของสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี พระสังฆาธิการหรือเจ้าอาวาสได้มองเห็นถึงหลักการประยุกต์ใช้ในด้านการสงเสริมให้พระสงฆ์ในวัดของท่านให้มีความรู้ทั้งด้านทางโลกและทางธรรม มีการสงเสริมในด้านการศึกษาจึงได้จัดตั้งกองทุนในด้านต่าง ๆ และในด้านการศึกษาเป็นหลัก ให้พระสงฆ์ในวัดของท่านมีการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหารธรรมในการอยู่ร่วมกันภายในวัด และยังเป็นตัวอย่างให้ญาติโยมได้เห็นเป็นตัวอย่าง ได้เห็นถึงความสามัคคี และได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วย การประยุกต์ใช้พรหมวิหารธรรมของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นหลักธรรมที่มีประโยชน์มาก ผู้ปกครองควรจะมีไว้ เมื่อคณะสงฆ์เห็นความสำคัญของหลักพรหมวิหารธรรม และต่อยอดให้คณะสงฆ์ทุกระดับชั้นดำเนินงานตามหลักพรหมวิหารธรรมโดยที่ไม่เห็นแก่พวกพ้องไม่เอนเอียงจะทำให้คณะสงฆ์อยู่แบบผาสุก และเป็นแบบอย่างให้พุทธศาสนิกชนได้ประพฤติปฏิบัติตาม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตุโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาณัฏฐ์ สติเวปุลฺโล และ ขันทอง วัฒนประดิษฐ์. (2565). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยสันติวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ไทยเดิ้ง ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(7), 3130-3142.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พะยอม วงศ์สารศรี. (2542). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: พรานกการพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.
อุดมชัย ปานาพุต, ชาตรี สุขสบาย, สงคราม จันทร์ทาคีรี, วีรพงศ์ พิชัยเสนาณรงค์ และ พระมหาณรงค์ราช ครองเชื้อ. (2566). ความเป็นบัณฑิตตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 759-768.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.