แนวทางการส่งเสริมการรักษาอุโบสถศีลของพุทธศาสนิกชนของวัด ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

พระกิตติศักดิ์ กลิ่นทิพย์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุโบสถศีลในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการรักษาอุโบสถศีลของพุทธศาสนิกชนของวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการรักษาอุโบสถศีลของพุทธศาสนิกชนของวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส จำนวน 6 รูป และกลุ่มที่ 2 ผู้ปฏิบัติธรรมรักษาอุโบสถศีล จำนวน 9 คน รวมเป็น 15 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า


1. อุโบสถศีล หมายถึง ข้อวัตรหรือระเบียบที่ต้องปฏิบัติในวันที่เข้าอยู่จำ ได้แก่ ศีลที่ต้องสมาทานรักษาในวันอุโบสถ คือ วัน 8 ค่ำ, วัน 14 ค่ำ และวัน 15 ค่ำ ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ ที่ฆราวาสผู้ครองเรือน ต้องการที่จะปฏิบัติรักษาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป


2. ผู้รักษาอุโบสถศีลในสังคมไทยในปัจจุบันลดน้อยลง เพราะขาดความรู้ความเข้าใจในการรักษาอุโบสถศีล บ้างก็มีอายุมากล้มหายตายจากกันไป บ้างก็มีปัญหาสุขภาพร่างกาย บ้างก็ติดภารกิจเพราะอยู่ในวัยทำงาน การเดินทางไม่สะดวก ลูกหลานไม่ดูแลเอาใจใส่ สังคมทุกวันนี้ไม่สนใจเรื่องของบาปบุญคุณโทษ เกิดความเสื่อมศรัทธาจากการประพฤติปฏิบัติตัวนอกรีตของพระสงฆ์ตามสื่อต่าง ๆ ขาดบุคลากรในการให้ความรู้ แนะนำในการประพฤติปฏิบัติจึงไม่สามารถรักษาได้อย่างจริงจังและเกิดประสิทธิผล ดังนั้นจึงต้องอาศัยคณะสงฆ์ในการสนับสนุน การประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมให้แต่ละวัดจัดกิจกรรมในการรักษาอุโบสถศีลเป็นแบบแผนในการรักษาศีลอุโบสถ


3. แนวทางการส่งเสริมการรักษาอุโบสถศีล ควรมีการให้ความรู้และฝึกฝนทักษะในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับพระสงฆ์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มุ่งเน้นปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้มารักษาอุโบสถศีล ประชาสัมพันธ์ถึงอานิสงส์หรือประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อดึงคนหนุ่มสาวเข้ามารักษาอุโบสถศีลและเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนิต อยู่โพธิ์. (2527). อานิสงส์อุโบสถศีล. กรุงเทพฯ: ศิวพรการพิมพ์.

ประณีต ก้องสมุทร. (2544). ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ. กรุงเทพฯ: วี. อินเตอร์พริ้นท์.

ปัญญา ใช้บางยาง. (2548). คัมภีร์อุโบสถศีล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รติธรรม.

พระครูปลัดอนุวัฒน์ ซื่อสัตย์. (2567).การประยุกต์ใช้หลักสติเพื่อจัดการความโกรธของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 247-256.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ). (2550). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

พระพรหมคุณาภรณ์. (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). ศีลพระ. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

พระมหาทองมั่น สุทฺธจิตฺโต. (2551). ศีลเป็นอาภรณอันประเสริฐ. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

พระมหาธนพัฒน์ สีหานาม. (2555). การศึกษาวิเคราะห์ผลการรักษาอุโบสถศีลของชาวบ้านโนนเมืองที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบุณยเกียรติ พลเยี่ยม. การศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่เกื้อหนุนต่อการรักษาอุโบสถศีลของอุบาสก อุบาสิกา ในพระพุทธศาสนาเถรวาท (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุพาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุวรรณ เคลือบสุวรรณ์. (2540). การศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติที่มีต่อการไปวัดในวันพระของ พุทธศาสนิกชนกับการไปโบสถ์ในวันอาทิตย์(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระยุธาน นาคขำ. (2567). การประยุกต์ใช้ขันติธรรมในการดำเนินชีวิตของประชาชนวัดค้างคาว จังหวัดนนทบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 247-256.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แม่ชีรัศมี บานเย็น. (2551). ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของการงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาลใน พระพุทธศาสนาเถรวาท(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ดแอนด์โฮม.

สำลี รักสุทธิ. (2543). ศีล สุดยอดวินัยของศาสนาพุทธ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์พัฒนาศึกษา.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.