แนวทางการฝึกอบรมพระนวกะของวัดเลา เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวความคิดการอบรมพระนวกะสมัยพุทธกาลและปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาวิธีอบรมพระนวกะคณะสงฆ์วัดเลา และ3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการอบรมพระนวกะคณะสงฆ์วัดเลา ผู้วิจัยใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนาม เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า
1) การอบรมในสมัยพุทธกาล ได้แก่ (1) การอบรมภาคทฤษฎี เรียกว่า “คันถธุระ” และ (2) การอบรมภาคปฏิบัติ เรียกว่า “วิปัสสนาธุระ” วัตถุประสงค์ของการอบรมพระนวกะสมัยพุทธกาลคือเพื่อหลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งการเกิดใหม่โดยพระอุปัชฌาย์ พระภิกษุที่เพิ่งบวชใหม่จะต้องศึกษาข้อปฏิบัติและกฎเกณฑ์ที่ถูกต้อง
2) วิธีอบรมพระนวกะคณะสงฆ์ เมื่อพระนวกะบวชเข้ามาแล้ว ก่อนเข้าสู่การฝึกอบรม ก่อนเข้าอบรมพระอาจารย์จะสอบถามถึงจุดประสงค์ในการอุปสมบท ข้อมูลส่วนตัว พระอาจารย์จะเริ่มอบรมเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจในวิชานั้นๆ
3) แนวทางการอบรมพระนวกะคณะสงฆ์วัดเลา เป็นการปฏิบัติศาสนกิจโดยให้พระภิกษุนวกะได้ปฏิบัติในวันสำคัญและพิธีกรรม มีการปฏิบัติวิปัสสนา จะทำให้พระนวกะได้ฝึกทำจิตใจให้สงบโดยการฝึกสมาธิตามอานาปานสติ หลักสูตรการฝึกอบรมเป็นหลักสูตรที่กระชับ มีเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพ และพร้อมปรับปรุงแก้ไขตามหลักสูตรที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเสนอ หลักสูตรนั้นก็สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิผลแก่นวกะภิกษุได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธีรวัส บําเพ็ญบุญบารมี. (2550). หลักการเผยแผ่พุทธธรรมศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกาตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเบญจนิกาย.
นงลักษณ์ สินสืบผล. (2542). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏธนบุรี.
ปกรณ์ ปรียากร. (2544). การวางแผนกลยุทธ์ : แนวคิดและแนวทางเชิงประยุกต์. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
ประเวศ มหารัตน์สกุล. (2556). การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.
พระครูสุนทรประสิทธิธรรม (ประสิทธิ์ ชุตินฺธโร). (2558). กิจวัตร 10 กระบวนการฝึกตนในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พุทธวิธีในการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.
พระมหาอภิชาติ ชัยหา. (2564). การฝึกอบรมพระนวกะ สำหรับวัดในประเทศไทย. วารสารนิตยสารเสียงธรรมจากมหายาน, 7(2), 14-26.
พัฒนา สุขประเสริฐ. (2540). กลยุทธ์ในการฝึกอบรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2540). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
วนิดา ชนินทยุทธวงศ์. (2543). คู่มือการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
สมคิด บางโม. (2551). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สมชาติ กิจยรรยง. (2547). เทคนิคการจัดการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
อำนาจ ปักษาสุข. (2557). การบวชในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.