การใช้หลักพุทธธรรมเพื่อสร้างความผูกพันของบุคลากรโรงเรียนวัดเลา เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อสร้างความผูกพันของบุคลากรโรงเรียนวัดเลา เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อสร้างความผูกพันของบุคลากรโรงเรียนวัดเลา เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะแนวทางการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อสร้างความผูกพันของบุคลากรโรงเรียนวัดเลา เขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรโรงเรียนวัดเลา เขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 80 คน โดยการเปิดตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน โดยการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน ผลการวิจัยพบว่า
1) การใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อสร้างความผูกพันของบุคลากรโรงเรียนวัดเลา แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง
2) ผลการเปรียบเทียบการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อสร้างความผูกพันของบุคลากรโรงเรียนวัดเลา เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรที่มี เพศ อายุ สถานภาพครอบครัว ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการใช้หลักสังควัตถุ 4 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงเรียนวัดลาว เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร พบว่าปัญหาและอุปสรรคคือขาดความมั่นใจในตนเอง มีการเอารัดเอาเปรียบกันในการทำงาน และขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน การแก้ปัญหาคือการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากร โดยให้บุคลากรทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจ มอบรางวัลเพื่อส่งเสริมบุคลากร และมีคุณประโยชน์ต่างๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น
ตุลา มหาพสุธานนท์. (2545). หลักการจัดการและหลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: ธนรัชการพิมพ์.
พรวิภา เชยกลิ่น. (2567). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 100 – 115.
พระครูปลัดอนุวัฒน์ ซื่อสัตย์. (2567).การประยุกต์ใช้หลักสติเพื่อจัดการความโกรธของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 247-256.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระยุธาน นาคขำ. (2567). การประยุกต์ใช้ขันติธรรมในการดำเนินชีวิตของประชาชนวัดค้างคาว จังหวัดนนทบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 247-256.
พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์: แนวคิดและกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รุ่งโรจน์ อรรถานิทธิ์. (2554). การสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กร. กรุงเทพฯ: บ้านหนังสือโกสินทร์.
สมชัย วงษ์คณะ และ ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์. (2550). เอกสารการสอนวิชาการวิจัย. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ดแอนด์โฮม.
สมพร สุทัศนีย์. (2554). มนุษยสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมุทร ชำนาญ. (2556). ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎีและปฏิบัติ. ระยอง: พี. เอส. การพิมพ์.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฏี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.