ศึกษาอิทธิพลของยันต์ 9 ยอด ที่ปรากฏตามหลักพุทธธรรมในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของรอยสักยันต์ 9 ยอด ในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในยันต์ 9 ยอด และ 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของยันต์ 9 ยอด ที่ปรากฏตามหลักพุทธธรรมในสังคมไทย เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 15 คน
ผลการวิจัย พบว่า ยันต์ เป็นลายและเลขยันต์ อักขระ ที่สักลงผิวหนัง ยันต์ 9 ยอด ที่ครูบาอาจารย์ได้ศึกษาเล่าเรียนมา มีคุณวิเศษของพระพุทธเจ้าทั้ง 9 ประการ ซึ่งแสดงให้เห็นในรูปของยอดแหลมทั้ง 9 ยอด การสักยันต์ 9 ยอดเป็นการสักยันต์แบบสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ยันต์ 9 ยอด เรียกอีกอย่างว่า ยันต์นวหรคุณ พระพุทธคุณทั้ง 9 ประการ ดังนั้นผู้ที่สักยันต์ 9 ยอด เพราะเป็นยันต์ที่มีความหมายดี ในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน ช่วยคุ้มครองรักษา ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ มีเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย หลายสำนักหลายอาจารย์ ยึดถือเอาเป็นยันต์ครู (ยันต์ตัวแรกของการสัก) ส่งต่อกันมาเป็นเอกลักษณ์ของคนในสังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมของคนในสมัยโบราณสู่คนรุ่นหลังได้ การสักยันต์ 9 ยอด มีอิทธิพลต่อสังคมไทย เป็นค่านิยมเฉพาะกลุ่มในสังคมไทย นิยมสักในตำแหน่งท้ายทอย เพราะเป็นตำแหน่งจักระสำคัญในการรับพลังที่ดี คนที่สักต้องใช้ชีวิตไม่ประมาท เป็นเครื่องเตือนใจ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ อิทธิพลของยันต์ 9 ยอด จะมีอิทธิพลเป็นบางกลุ่ม เพราะเป็นเพียงกุศโลบายให้คนที่สักนั้นอยู่ในศีลธรรม และเกรงกลัวที่จะทำบาป คนที่ได้รับการสักนั้นจะต้องประพฤติตัวให้อยู่ในศีล 5 ตามหลักพุทธธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2555). การศึกษาเชิงวิเคราะห์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในยันต์ไทย. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 19(2), 13-25.
พรรษา เครือคล้าย และ นพดล อินทร์จันทร์. (2565). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลายยันต์ไทย สําหรับกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวาย. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(1), 72 –81.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 39). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการอาทิตย์ อาทโร และ พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร. (2566). กุศโลบายในการสอนธรรมจากการสักยันต์ในสังคมไทย. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 9(1), 13 – 22.
ยืนยง มาดี และ อดิพงศ์ หันภาพ. (2557). คัมภีร์มหายันต์โบราณ เล่ม 4. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : สำนักพิมพ์ วี.ที.เอส.บุ๊คเซ็นเตอร์.
อัญชลี กิ๊บบิ้นส์. (2559). ยันต์ ... ความพันผูกทางพุทธธรรมภาษา และ ศิลปะ. วารสารข่วงผญา, 11(1), 169-202.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.