การใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของชุมชนบางสะแกนอก เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระครูปลัดนายกวรวัฒน์ สมคิด ตติยวัฒนศิริ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของชุมชนบางสะแกนอก เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มชุมชนบางสะแกนอก 15 รูป/คน


ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดหลักการอยู่ร่วมกัน การสร้างความสัมพันธ์ของคนระดับบุคคลและระดับสังคม โดยอาศัยความมั่นคง ความประสานร่วมมือ ความเห็นอกเห็นใจพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความเคารพในสิทธิ การสื่อสารทำความเข้าใจร่วมกันด้วยความสุภาพอ่อนโยน มีความเชื่อใจกัน มีมาตรการแก้ไขความขัดแย้ง โดยไม่ใช้ความรุนแรง หลักสาราณียธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้มีความระลึกถึงกันด้วยความรัก ความเคารพ เพื่อความสงเคราะห์ เพื่อไม่ทะเลาะวิวาทกัน เพื่อความสามัคคี และความเป็นไปในทางเดียวกัน รับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน เป็นหลักธรรมแห่งการประพฤติปฏิบัติต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ชุมชนบางสะแกนอก ได้ยึดถือหลักสาราณียธรรมมาใช้ในการอยู่ร่วมกัน ที่ทำให้เกิดความสามัคคี มีการพึ่งพาอาศัยกัน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน คือ เมื่อชุมชนมีกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งก็พร้อมใจกันช่วยเหลือกันทำกิจกรรมนั้น ๆ ให้สำเร็จด้วยดี ช่วยกันพัฒนาชุมชนให้เกิดความเจริญยิ่งขึ้น ตามหลักของ คำว่า “บวร” คือ บ้าน วัด และโรงเรียน ซึ่งทุกคนในชุมชนสามารถร่วมกันพัฒนา ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ก็จะทำให้ชุมชนมีความสุข อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นงลักษณ์ นนท์แก้ว. (2566). ประชาชนในชุมชนวัดบางสะแกนอก. สัมถาษณ์, 26 พฤศจิกายน.

ประจวบ ชำรักษา. (2566). ข้าราชการบำนาญ. สัมถาษณ์, 27 พฤศจิกายน.

ประพันธ์ ฉากทองคำ. (2566). ไวยาวัจกรวัดบางสะแกนอก. สัมถาษณ์, 23 พฤศจิกายน.

พระมหาณัฏฐ์ สติเวปุลฺโล และ ขันทอง วัฒนประดิษฐ์ (2565). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยสันติวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ไทยเดิ้ง ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(7), 3130-3142.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2554). พุทธสันติวิธี : การบูรณาการหลักการและเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.

พระวรพงษ์ อภิจาโร. (2566). ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางสะแกนอก. สัมถาษณ์, 23 พฤศจิกายน.

พิมพ์นิภา อินทพัฒน์, สันติ ศรีสวนเเตง และ อภิชาติ ใจอารีย์. (2566). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนนาท่ามเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 570-587.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.

ศรีเพ็ญ ศุภพิทยากุล. (2551). มนุษย์กับสันติสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุพัตรา สุภาพ. (2536). สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

อุดมชัย ปานาพุต, ชาตรี สุขสบาย, สงคราม จันทร์ทาคีรี, วีรพงศ์ พิชัยเสนาณรงค์ และ พระมหาณรงค์ราช ครองเชื้อ. (2566). ความเป็นบัณฑิตตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 759-768.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.