การเผยแผ่ธรรมด้านธุดงควัตรของพระมหากัสสปเถระเพื่อประยุกต์ใช้ในสังคมสงฆ์ไทย

Main Article Content

พระมหาระพีพงศ์ คำเหลี่ยม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาธุดงควัตรที่ปรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเพื่อศึกษาการปฏิบัติธุดงควัตรของพระมหากัสสปเถระ และเพื่อเสนอแนวทางการเผยแผ่ธรรมด้านธุดงควัตรของพระมหากัสสปเถระเพื่อประยุกต์ใช้ในสังคมสงฆ์ไทย ผลการวิจัย พบว่า ความเป็นมาของธุดงค์ในพระพุทธศาสนานั้นพบว่าธุดงค์คือองค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลสองค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หมายถึง เจตนาความตั้งใจขัดเกลากิเลสเจตจำนงค์ความจงใจที่ทำให้ละกิเลสได้ จากการวิจัย พบว่า ธุดงค์ที่มีมาในพระไตรปิฎกที่จริงแล้วมีเพียง 8 ข้อเท่านั้นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันว่ามี 13 ข้อเกิดจากการบัญญัติเพิ่มเข้ามาในภายหลังของพระสาวกหรือพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้มีการปฏิบัติกันอยู่แต่ไม่ได้มีการนำเอาไปรวมกับธุดงควัตร 8 ข้อ จนเวลาผ่านไปหลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับขันปรินิพพานแล้วพระสาวกจึงได้นำเอาการปฏิบัติที่มีลักษะใกล้เคียงกับธุดงค์ที่มีอยู่แล้วมาบัญญัติและรวมเข้ากับธุดงค์อีก 5 ข้อ จึงกลายมาเป็นธุดงค์ 13 ปฏิปทาในการถือธุดงค์ของพระมหากัสสปเถระพบว่าพระมหากัสสปเถระเป็นพระสาวกที่มีบาทสำคัญในการจรรโลงพระพุทธศาสนาในด้านการสมาทานธุดงค์ ท่านมุ่งมั่นในการสมาทานธุดงควัตรอย่างเคร่งครัด 3 ข้อ คือ ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และถื อการอยู่ป่าเป็นวัตรจากการวิเคราะห์ปฏิปทาในการถือธุดงค์ของพระมหากัสสปเถระพบว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมสงฆ์
การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการใช้วัตถุสิ่งของอย่างเห็นคุณค่าได้ การถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรสามารถนำมาเป็นแนวทางและประยุกต์ใช้โดยการเป็นผู้เอาใจใส่ในกิจวัตรของพระสงฆ์ การไม่ทอดทิ้งธุระในการบิณฑบาตเพราะการบิณฑบาตเป็นการเผยแผ่พุทธศาสนา การอยู่ป่าเป็นวัตร การอยู่ป่าช่วยส่งเสริมความเป็นผู้ขัดเกลาและความมักน้อยยินดีในเสนาสนะป่าอันสงบสงัดเหมาะแก่การปลีกวิเวกนั่นเองนับได้ว่าการอยู่ป่าของพระมหากัสสปเถระเป็นรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกรูปแบบหนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระครูปลัดทินกร คงถาวร. (2565). ธุดงควัตร : แนวทางพัฒนาศาสนทายาทในพระพุทธศาสนา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 27(1), 80-93.

พระครูปลัดอนุวัฒน์ ซื่อสัตย์. (2567).การประยุกต์ใช้หลักสติเพื่อจัดการความโกรธของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 247-256.

พระยุธาน นาคขำ. (2567). การประยุกต์ใช้ขันติธรรมในการดำเนินชีวิตของประชาชนวัดค้างคาว จังหวัดนนทบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 247-256.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ดแอนด์โฮม.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.