วิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการทำนายสำหรับนักโหราศาสตร์ไทย

Main Article Content

พระจักษวัชร์ สละสนธิ์
พระมหาวิโรจน์ ธาระพุฒ

บทคัดย่อ

ปัญหาของนักโหราศาสตร์ในสังคมปัจจุบัน คือ พูดจาหลอกลวง ไม่มีคุณธรรม พูดจาโน้มน้าวให้ทำพิธีกรรมต่าง ๆ อันไม่เกิดประโยชน์แก่ตัวผู้มารับการพยากรณ์ การทำนายโดยไม่มีความรู้จริง คุยโวโอ้อวดตนเอง ใช้วาจาไม่สุภาพฟังแล้วระคายหู เกิดความโลภเรียกค่าบริการแพงเกินไป ทำนายโดยใช้หลักไม่ตรงกันกับความเป็นเหตุเป็นผล มุ่งหวังประโยชน์มากกว่าการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ดังนั้นผู้วิจัยต้องการที่จะประยุกต์แนวทางการพยากรณ์ของนักโหราศาสตร์ไทยกับหลักพุทธธรรมเข้าหากัน โดยมีหลักธรรมอะไรบ้างที่ช่วยปรับปรุงและแก้ไขคุณสมบัติของนักโหราศาสตร์ให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดความสุข บรรเทาทุกข์แก่ผู้มารับการพยากรณ์ การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำนายในพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาหลักการและแนวทางในการทำนายของนักโหราศาสตร์ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการทำนายสำหรับนักโหราศาสตร์ไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลภาคสนาม แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อหาข้อสรุปในผลการวิจัย จากการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า นักโหราศาสตร์ควรยึดถือหลักพุทธธรรมทั้ง 4 ประการ เพื่อการทำนายด้วยหลักธรรมทั้ง 5 ข้อนี้เชื่อมสัมพันธ์กัน คือหลักพุทธธรรมที่จะทำให้ผู้มารับการทำนายมีความพอใจในตัวนักโหราศาสตร์ กล่าวคือ เมื่อนักโหราศาสตร์มีใจรักต่อการทำนาย จะทำให้เกิดความรู้สึกเต็มใจในการทำนาย ช่วยให้การทำนายดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง เกิดการสงเคราะห์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เกิดความลำเอียง วางตนเป็นคนเสมอต้นเสมอปลายเป็นที่พึ่งทางใจของบุคคลทั่วไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณิชมน สาริพันธ์, จรัส ลีกา, พระมหาไพรฑูรย์ สิริธมฺโม และ พระมหาจิณกมล เป็นสุข. (2564). โหราศาสตร์กับการดำเนินชีวิต. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(4), 57-68.

เทพย์ สาริกบุตร. (2511). โหราศาสตร์ปริทัศน์ ภาค 1. กรุงเทพฯ: เกษมบรรณกิจ.

ธันยา นาคบุตร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านโหราศาสตร์กับความสุขในที่ทำงานของพนักงาน บมจ.ธนาคารกรุงไทย สำนักงานใหญ่ สายงานปฏิบัติการ(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประพันธ์ เตละกุล. (2543). ดาราศาสตร์และอวกาศ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ประยูร พลอารีย์. (2521). อารัมภบทโหราศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรวิทยา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

พระยาบริรักษ์เวชการ. (2511). ความรู้เกี่ยวกับโหราศาสตร์. กรุงเทพฯ: มิตรสยามการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัชพร ทุมมานนท์. (2559). การประยุกต์หลักพุทธสันติวิธีในการทำนายของนักโหราศาสตร์ไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 4(พิเศษ), 198-208.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

สิงโต สุริยาอารักษ์. (2526). โหราศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: เกษมบรรณกิจ.

อชิรพณิชา พลายนาค. (2553). การใช้โหราศาสตร์เป็นวิถีทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอื้อน มณเฑียรทอง. (2516). พระคัมภีร์โหราศาตร์ศิลปาคม ภาค 1. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.