วิเคราะห์กรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทที่ปรากฏในบทละครโทรทัศน์เรื่องกำไลมาศ

Main Article Content

พระเศรษฐา ศรีสุรา

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรรมที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในบทละครโทรทัศน์เรื่อง กำไลมาศ และเพื่อวิเคราะห์กรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทที่ปรากฏในบทละครโทรทัศน์เรื่อง กำไลมาศ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ นำมาวิเคราะห์ เรียบเรียง และนำเสนอแบบบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรรมที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง การ กิจ การงาน หรือการกระทำ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำตนเองที่เกิดขึ้นมาจากความโลภ ความโกรธ และความหลง 2) หลักกรรมและพฤติกรรมตัวละครที่ปรากฏในบทละครเรื่อง กำไลมาศ แสดงให้เห็นความเป็นจริงของคติทางโลกและทางธรรมผสานกันอยู่ในละคร โดยแสดงให้เห็นว่า การกระทำและเจตนาของตัวละครเป็นเครื่องกำหนด ดี ชั่ว ถูก ผิด 3) วิเคราะห์กรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทที่ปรากฏในบทละครโทรทัศน์ เรื่อง กำไลมาศ ได้มีการสะท้อนให้เห็นว่า มนุษย์มีธรรมชาติที่ดีติดตามตัวมาตั้งแต่เกิด หรือมีธรรมชาติความเป็นคนดี หรือมีบางสิ่งที่ติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่เกิด แต่มาเศร้าหมองไปเพราะมีกิเลสอันเกิดจากการยึดมั่นจึงก่อให้เกิดการยึดติด ผูกพันจึงเกิดความยึดมั่น ทำให้ไม่สามารถรักษาสภาพธรรมชาติเดิมของตนไว้ได้ ขณะเดียวกันการสะท้อนบุคลิกภาพของตัวละคร ว่าตัวละครแต่ละตัวนั้นมีบุคลิกลักษณะที่แตกต่าง และมีพื้นฐานของชีวิตที่แตกต่างกัน ในพระพุทธศาสนามีคำสอนในเรื่องการสร้างกรรมดีกรรมชั่ว ซึ่งผลแห่งกรรมที่ข้ามภพข้ามชาติที่นำสู่มา ณ ปัจจุบัน ได้ให้ผลที่แตกต่างกันออกไป กรรมในพระพุทธศาสนาเป็นกรรมอันเนื่องด้วยการกระทำของบุคคล แม้จะแตกต่างกันออกไปมากน้อยในอดีตอันผ่านพ้นไป แม้แต่วันหนึ่งที่ล่วงไปในพระพุทธศาสนาได้นับรวมผลแห่งการกระทำอันนั้นไว้ด้วย กฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนาจึงมิได้หมายถึงกฎแห่งกรรมที่เป็นอดีต ที่เรียกว่าอดีตชาติเท่านั้น แต่กฎแห่งกรรมหมายถึงภพ ณ ปัจจุบันนี้รวมอยู่ด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอดิสันเพรสโปรดักส์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และคณะ. (2547). สุนทรียนิเทศศาสตร์ การสื่อสารการแสดงและสื่อจินตคดี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประวัน แพทยานนท์. (2556). พัฒนาการของละครโทรทัศน์ที่สะท้อนสังคมไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 1(2), 44-45.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2553). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ คำวัด.(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 11).กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2545). ประมวลชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุธิสา วงษ์อยู่. (2559). บทละครทีวี กำไลมาศ. กรุงเทพฯ: อะนิเมท ปริ้นท์ แอนด์ ดีไซน์.

เอื้องอรุณ สมิตสุวรรณ. (2535). การวิเคราะห์การเขียนบทละครโทรทัศน์เรื่อง ปริศนา (วิทยานิพนธ์นิเทศศาตร

มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space for Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.