การพัฒนาคู่มือระบบการให้การปรึกษาและดูแลช่วยเหลือนักเรียนวัยรุ่น ในยุคดิจิทัลสำหรับครูที่ปรึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

สุวัชราพร สวยอารมณ์
ปิยะฉัตร เอื้อชินกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาคู่มือระบบการให้การปรึกษาและดูแลช่วยเหลือนักเรียนวัยรุ่นในยุคดิจิทัลสำหรับครูที่ปรึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้คู่มือระบบการให้การปรึกษาและดูแลช่วยเหลือนักเรียนวัยรุ่นในยุคดิจิทัลสำหรับครูที่ปรึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่าง คือครูที่ปรึกษาโรงเรียนในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 50 คน ใช้วิธีคัดเลือกการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือระบบการให้การปรึกษาและดูแลช่วยเหลือนักเรียนวัยรุ่นในยุคดิจิทัลสำหรับครูที่ปรึกษา 2) แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังการใช้คู่มือระบบการให้การปรึกษาและดูแลช่วยเหลือนักเรียนวัยรุ่นในยุคดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) คู่มือระบบการให้การปรึกษาและดูแลช่วยเหลือนักเรียนวัยรุ่นในยุคดิจิทัลสำหรับครูที่ปรึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ได้แก่ สภาพปัญหาของนักเรียนวัยรุ่นในยุคดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการให้การปรึกษาเบื้องต้นในยุคดิจิทัล แบบคัดกรองนักเรียนวัยรุ่นในยุคดิจิทัลเทคนิคและทักษะการให้การปรึกษานักเรียนวัยรุ่นในยุคดิจิทัลและแนวทางการส่งต่อและช่วยเหลือนักเรียนวัยรุ่นในยุคดิจิทัล 2) ครูที่ปรึกษามีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ผลการประเมินการใช้คู่มืออยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ความรู้หลังการเข้าอบรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 83.75 และ 3) ครูที่ปรึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรามีคะแนนความรู้การใช้คู่มือในระยะหลังการทดลองและติดตามผลมากกว่าระยะก่อนการทดลองอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2551). คู่มือครูระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1-ช่วงชั้นที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวทางปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

เดชา ตาละนึก, พระครูปลัดณัฐพล ประชุณหะ, พระครูใบฎีกาทิพพนากรณ์ เลาลี และ นฤภรณ์ วรายุทธโยติกุล.(2564). การบูรณาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองกับการทำงานเพื่อบริการการท่องเที่ยวชุมชน ภายใต้โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในจังหวัดเชียงราย, วารสารศึกษาศาสตร์ มมร., 9(1), 173-191.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2558). เด็กยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2567, จากhttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/ENEDU/article/view/6704/6315

บุหงา วชิระศักดิ์มงคล. (2561). สมรรถนะครูมืออาชีพ:ปฏิบัติการให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 8(2), 247-264.

เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์. (2563). การพัฒนาคู่มือเพื่อสร้างการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 13(1), 74-85.

วจี ปัญญาใส. (2560). ทักษะการให้คำปรึกษากลุ่มของครูในโรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(2), 27-43.

วลัยวัลล์ พุ่มพึ่งพุทธ. (2554). การพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยรังสิต(วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ตถาตาพลับลิค.

วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ เสรี ใหม่จันทร์ และชลิดา วสุวัต (2566). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะด้านการให้การปรึกษา สําหรับครูประจําชั้นระดับประถมศึกษา เขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(1), 252-266.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา. (2565). จำนวนโรงเรียน ครู นักเรียนและห้องเรียนจังหวัดฉะเชิงเทรา. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2565, จาก https://data.go.th/dataset/education01.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 6. (2567). รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2566. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2567, จาก http://www.mhc06.org/web1/download/012.pdf

อนุสรา เหล็กคํา, หยกแก้ว กมลวรเดช, และ สุกัญญา รุจิเมธาภาส. (2564). การพัฒนาคู่มือระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(8), 233-256.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารโรงเรียนยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2567, จาก http://www.pracharathscool.go.th/skill/detail/52232

Corey, M. S., Corey, G., & Corey, C. (2018). Groups: Process and Practice. Massachusetts: Cengage Learning.

Gomez, J. (2008). Print is Dead: Books in Our Digital Age. London: Palgrave Macmillan.