ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ Picture Word Inductive Model ที่มีต่อความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดเรียนรู้รูปแบบ Picture Word Inductive Model ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการที่ได้รับการจัดเรียนรู้รูปแบบ Picture Word Inductive Model ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกดโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Picture Word Inductive Model 2) แบบประเมินความสามารถในการอ่านสะกดคำ 3) แบบประเมินความสามารถในการเขียนสะกดคำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนก่อน-หลังการทดลองโดยใช้ Dependent Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้รับการจัดเรียนรู้แบบ Picture Word Inductive Model หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้รับการจัดเรียนรู้แบบ Picture Word Inductive Model หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกพร จันทะกล. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการและการเขียนจากภาพ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กรมวิชาการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และ อัมพร ทองใบ (2555). การอ่านและการเขียนทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ณัฐพงศ์ เชื้อเพชร และ ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล. (2561). สภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(3), 82-95.
พิริยา หาญบำรุงธรรม และ ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2565). การพัฒนาหนังสือการ์จูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 5(14), 22-35.
สุนิสา มามีสุข. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Picture Word Inductive Model ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 12-26.
สุพัตรา ศรีธรรมมา และ อุบลวรรณ ส่งเสริม . (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับแผนผังความคิด. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(1), 266-280.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2566,
https://boet.obec.go.th/3568/27/01/2023/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจการอ่านของประชากรพ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2566,
จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/AA
อิศเรศ พิพัฒน์มงคลพร และ วิไล พิพัฒน์มงคลพร. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบพิคเจอร์เวิร์ด
Picture Word Inductive Model. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(1), 17-22.
Calhoun, E. F. (1999). Teaching Beginning Reading and Writing with the Picture Word Inductive Model. Virginia: ASCD.
Novia, F. (2015). Promoting Picture Word Inductive Model (PWIM) To Develop Students’ Writing Skill. Premise Journal of English Education, 4(1) 1-7.