ผลของการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

กันต์ธรรุจิ เกษแก้ว
เด่นดาว ชลวิทย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน  จำนวน 28 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง  การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนเรียนและหลังเรียน  เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R จำนวน 3 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่านัยสำคัญของความแตกต่างโดยใช้สถิติการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R มีคะแนนความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2563). การคิดเชิงวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ซัคเซส.

จิตตินันท์ สุวรรณภาพ และ ทรงภพ ขุนมธุรส. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยวิธีการสอน อ่านแบบพาโนรามา (PANORAMA). วารสารราชพฤกษ์, 19(3), 1-10.

นริศรา ชยธวัช. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิภา ศรีไพโรจน์. (2553). สถิตินอนพาราเมตริก. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาพร ปุ่มเป้า. (2566). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง นิราศภูเขาทอง โดยวิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(1), 169-180.

สุคนธ์ สินธพานนท์และคณะ. (2551). การจัดกระบวนการเรียนรู้: เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

Adler, M. J., & Van, D. C. (2011). How To Read a Book. (reprint). New York: Simon and Schuster.

Pauk, W. (1984). The New SQ4R. Reading World, 23(3), 274–275.