การประยุกต์ใช้หลักสมชีวิธรรมในการครองเรือนของประชาชน ในสังคมภาคอุตสาหกรรม

Main Article Content

พระธีรวัฒน์ ฤทธิ์ดี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสมชีวิธรรมในการครองเรือนของประชาชนในสังคมภาคอุตสาหกรรม 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสมชีวิธรรมในการครองเรือนของประชาชนในโรงงานสังคมภาคอุตสาหกรรม และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้หลักสมชีวิธรรมในการครองเรือนของประชาชนในสังคมภาคอุตสาหกรรม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ไดแก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในสังคมภาคอุตสาหกรรมในชุมชนวัดไผ่เงิน เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร จำนวน 196 คน ประชากร โดยการเปิดตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ผลการวิจัย พบว่า


1) การประยุกต์หลักสมชีวิธรรมในการครองเรือนของประชาชนในสังคมภาคอุตสาหกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่าการครองเรือนของประชาชนในสังคมภาคอุตสาหกรรม มีการนำหลักสมชีวิธรรม 4 มาใช้ในชุมชนเป็นอย่างดี


2) ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสมชีวิธรรมในการครองเรือนของประชาชนในโรงงานสังคมภาคอุตสาหกรรม พบว่า พนักงานที่มี เพศ อายุ และรายได้ต่างกันมีการประยุกต์ใช้หลักสมชีวิธรรมในการครองเรือนของประชาชนในสังคมภาคอุตสาหกรรมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ พนักงานที่มีการศึกษาที่แตกต่างกันมีการประยุกต์ใช้หลักสมชีวิธรรมในการครองเรือนของประชาชนในสังคมภาคอุตสาหกรรม แตกต่างกัน จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้หลักสมชีวิธรรมในการครองเรือนของประชาชนในสังคมภาคอุตสาหกรรม  พบว่า ในการที่จะทำให้คู่รักอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ทั้งชาตินี้และชาติต่อไปที่ต้องการพบกัน ย่อมต้องมีความเสมอกันทั้งความศรัทธา ความเชื่อ ที่ควรมีทัศนคติที่ตรงกัน ความคิดไปในทิศทางเดียวกัน การมีศีล และรักษาศีลทำให้การดำเนินชีวิตที่เป็นปกติ เรียบง่ายอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รู้จักแบ่งปัน มีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจตนเอง การมีความรู้ การศึกษา ใกล้เคียงกัน ทำให้สามารถคิดวิเคราะห์แก้ไข ในการแก้ปัญหา ให้ผ่านไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2525). พุทธศาสนา: ศาสนาประจำชาติไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.

จำเนียร รักษาภักดี. (2544). การศึกษาเรื่องจริยธรรมของคู่สมรสตามหลักพุทธศาสนา(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิระศักดิ์ สังเมฆ. (2561). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาจริยธรรมครอบครัว. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 9(2), 97–110.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). คู่สร้างคู่สมชีวิตคู่ในอุดมคติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พระวิทูล สนฺตจิตฺโต. (2555). การวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์สำหรับแก้ปัญหาการครองเรือนในสังคมไทย(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิสณุ ฟองศรี. (2549). วิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เทียมฝ่าการพิมพ์.

มนธ์ภัสสรณ พิพัฒน์เตชากร. (2552). ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีครอบครัวอยู่ดีมีสุข ในจังหวัดนครปฐม กรณีศึกษาผลงานนิพนธ์ชุดธรรมประยุกต์สำหรับคนรุ่นใหม่(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม. (30 กันยายน 2565). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นจาก https://www.moj.go.th/view/7762

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2540). คำบรรยายในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: หอรัตนชัยการพิมพ์.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist Integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.