ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกาลีสูตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและหลักธรรมสำคัญในกาลีสูตร 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกาลีสูตร การวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กาลีสูตร เป็นพระสูตรว่าด้วยอุบาสิกาชื่อว่ากาลีได้ถามปัญหากับพระมหากัจจานะว่า พระพุทธดำรัสที่ว่าการบรรลุประโยชน์เป็นความสงบแห่งหทัยนั้น หมายความว่าอย่างไร พระเถระอธิบายว่า การบรรลุประโยชน์ของพระพุทธเจ้าต่างกับของสมณพราหมณ์อื่น ๆ คือ การบรรลุประโยชน์ของสมณพราหมณ์อื่น ๆ หมายถึงการได้สมาบัติ 8 โดยอาศัยกสิณ 10 เท่านั้น แต่พระพุทธเจ้าทรงได้สมาบัติโดยอาศัยกสิณ 10 นั้น ๆ แล้วยังทรงเห็นเบื้องต้น โทษ ธรรมเป็นเครื่องสลัดออก และมัคคามัคคญาณทัสสนะ ฉะนั้น การบรรลุประโยชน์เช่นนั้นจึงเป็นความสงบแห่งหทัย
การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนากาลีสูตรกล่าวคือ พระพุทธเจ้าทรงเข้าสมาบัติตามลำดับอันประกอบด้วยรูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 คือ ทรงสามารถเข้าสมาบัติเหล่านี้เริ่มจากสมาบัติในขั้นต้น คือ ปฐมฌานขึ้นไปจนถึงสมาบัติขั้นสูงสุด และพระสาวกเช่นพระสารีบุตรก็เข้าสมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 นานตราบเทาที่ตนปรารถนา และการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักกสิณ 10 คือ มีการเพ่งปฐวีกสิณเป็นต้นโดยใช้เป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐานก่อนพัฒนาเข้าสู่วิปัสสนาภาวนา ได้แก่ ทำรูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 ในปฐวีกสิณเป็นต้นให้บังเกิดแล้วเพ่งมองเพื่อทำจิตให้เป็นสมาธิ ปฐวีกสิณเป็นต้นสามารถใช้เป็นบาทฐานในการเข้าสู่วิปัสสนาได้ เรียกว่า การเจริญวิปัสสนาแบบสมถยานิก คือวิธีการฝึกจิตด้วยการเจริญสมถกรรมฐานก่อนแล้วเจริญวิปัสสนาต่อเนื่องภายหลัง เป็นวิธีการฝึกฝนพัฒนาจิตเพื่อความหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 41, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ดแอนด์โฮม.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.
Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20